คุณเคยมีอาการปวดคอ ปวดต้นคอท้ายทอย ร่วมกับอาการปวดร้าวลงแขน ปวดหัวบริเวณท้ายทอย ชาที่นิ้วมือ หรืออ่อนแรงหรือไม่?
อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของโรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท
สาเหตุ และพฤติกรรมเสี่ยงของการใช้คอผิดลักษณะ
โรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท เกิดขึ้นได้ทั้งจากอุบัติเหตุและจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต
ซึ่งส่วนที่เกิดจากอุบัติเหตุ มีการบาดเจ็บและทำให้หมอนรองกระดูกบริเวณต้นคอ มีการเคลื่อน หรือกดทับไขสันหลังหรือเส้นประสาท
สำหรับกลุ่มที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตพบได้บ่อยๆ คือกลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเรื่องของการใช้คอ ใช้กล้ามเนื้อแผ่นหลังที่ผิดลักษณะ เช่น
- พฤติกรรมการใช้คอผิดท่านานเกิน 2 ชั่วโมง เช่น ก้มคอ พับคอ เงยคอ
- พฤติกรรมความรุนแรง เช่น สะบัดคอ โยกคอ หรือวางของไว้บนศีรษะ
- โครงสร้างไม่สมดุล ตั้งแต่แรกเกิด เช่น กระดูกคอคด
สาเหตุเหล่านี้มักทำให้ มีปัญหาเรื่องปวดคอ บ่า ไหล่ หรือ มีอาการปวดต้นคอท้ายทอย ปวดแปล๊บเหมือนไฟช็อตลงไปที่แขน มีอาการชา บางรายอาจอ่อนแรง
ด้านแพทย์เฉพาะทางกล่าวว่า สาเหตุหลักของอาการดังกล่าวเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เป็นสาเหตุหลัก และจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาทอายุน้อยลงมากขึ้นเรื่อยๆ
อาการของโรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท
พบได้ 2 แบบคือ
- อาการปวดต้นคอท้ายทอยอาจเกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอบวมออกมาระคายเคืองเส้นประสาท หรือมีเส้น ประสาทคอส่วนบนโดนกดทับ
- อาการปวด ชา ร้าวลง บ่า ไหล่ แขนและมือ เกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอคอกดทับเส้นประสาท หรือมีกระดูกคอทรุด ทำให้ เส้นประสาทโดนกดทับ
หากปล่อยไว้นาน อาจทำให้เกิดอาการชาและอ่อนแรงของแขนได้
การวินิจฉัย
หากอาการไม่ดีขึ้นหลังรับประทานยานานกว่า 1 เดือน แพทย์จะตรวจระบบประสาทส่วนคอด้วยการทำ X-ray และ MRI เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง

แนวทางการรักษาโรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท
ปัจจุบันมีเครื่องมือการรักษาที่ทันสมัยและช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
- อาการไม่รุนแรงมาก อันดับแรกพอมีอาการปวดให้ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ถ้าปรับแล้วอาการยังไม่ดึขึ้น แพทย์จะใช้ยาแก้ปวดหลายๆ ตัวร่วมกับการทำกายภาพบำบัดที่เหมาะสม อาการก็มักจะดีขึ้นตามลำดับภายในไม่กี่สัปดาห์
- ผู้ป่วยที่มี ข้อบงชี้ในการรักษาด้วยการผ่าตัด ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะมีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ เรื้อรัง หรือ ปวดต้นคอท้ายทอย มานาน รักษาแล้วอาการปวดยังไม่ดีขึ้น ปวดร้าวลงแขน ที่เกิดจากการกดทับเส้นประสาท หรือ ไขสันหลังส่วนคอ
แพทย์จะทำการผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนคอทางด้านหลัง ด้วยเทคนิค PSCD (Percutaneous Stenoscopic Cervical Decompression) เพื่อขยายช่องกระดูกสันหลังส่วนคอ
และทำการนำกล้องเอ็นโดสโคป ที่มีความละเอียดสูงเข้าไปในช่องว่างภายในกระดูกคอเพื่อนำหมอนรองกระดูกที่กดทับเส้นประสาทออกมา
หลังจากได้รับการรักษาเรียบร้อยแล้วผู้ป่วย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำหลังการผ่าตัด ของแพทย์เพื่อการหายอย่างยั่งยืน


- หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทรักษาที่ไหนดี ค้นหาสาเหตุของโรค ด้วยเครื่อง MRI
- เทคนิคการผ่าตัดกระดูกสันหลัง มีกี่วิธี ที่คุณเลือกได้
- หลังการผ่าตัด ควรปฏิบัติตัวอย่างไร
ข้อดี
- ลดการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อ
- แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กเพียง 0.5 เซนติเมตร
- ไม่ต้องเปิดแผลที่มีขนาดใหญ่เกินความจำเป็น
- ไม่ต้องใส่อุปกรณ์เสริมเข้าไปในร่างกาย
- เสียเลือดน้อย ข้อแทรกซ้อนต่ำกว่าการผ่าตัดใหญ่
- ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วหลังจากการผ่าตัด
ข้อจำกัด
การผ่าตัดหมอนกระดูกสันหลังส่วนคอ ด้วยเทคนิคแบบ PSCD ถือว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ ดังนั้นจึงต้องใช้ความเชี่ยวชาญของแพทย์เฉพาะทางควบคู่ในการรักษาผู้ป่วยทำให้ไม่เป็นที่แพร่หลาย และจะพบได้ที่โรงพยาบาลเฉพาะทางที่รักษาโรคกระดูกสันหลังโดยเฉพาะ