เลือกที่จะไม่เข้าร่วม

เราใช้คุกกี้ของบุคคลที่สามช่วยในการวิเคราะห์วิธีที่คุณใช้เว็บไซต์นี้ จัดเก็บการตั้งค่าของคุณ และมอบเนื้อหาและโฆษณาที่มีความเกี่ยวข้องกับคุณ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถเลือกไม่ให้มีการใช้คุกกี้เหล่านี้ได้โดยทําเครื่องหมายที่ "ห้ามขายหรือแชร์ข้อมูลส่วนตัวของฉัน" และคลิกปุ่ม "บันทึกการตั้งค่าของฉัน" เมื่อคุณเลือกที่จะไม่เข้าร่วมแล้ว คุณสามารถกลับมาเลือกเข้าร่วมอีกครั้งได้ตลอดเวลาโดยยกเลิกการเลือก "ห้ามขายหรือแชร์ข้อมูลส่วนตัวของฉัน" แล้วคลิกปุ่ม "บันทึกการตั้งค่าของฉัน"

ห้ามขายหรือแชร์ข้อมูลส่วนตัวของฉัน
020340808

มาเช็กกระดูกสันหลังกันเถอะ

หลังค่อม คอยื่น  นี่ไม่ใช่เรื่องธรรมดา แต่มัน คือ ความผิดปกติของสรีระที่นับวันจะยิ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในโลกปัจจุบัน 

หลังค่อม คอยื่น คือ สรีระผิดปกติที่พบได้ทุกเพศทุกวัย  บางคนอาจลังค่อม คอยื่น มาตั้งแต่กำเนิด บางรายอาจเริ่มมาพบปัญหา หลังค่อม คอยื่น ในช่วงวัยหนุ่มสาวหรืออาจมาพบปัญหาเมื่อถึงวัยชรา ในบางกรณีอาจร้ายแรงไปถึงเป็นโรคกระดูกสันหลังปลิ้นหรือโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน

  1. พันธุกรรมหรือความผิดปกติแต่กำเนิด
  2. โรคทางระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อ
  3. ท่าทางที่ไม่ถูกต้องในชีวิตประจำวัน
  4. ความเสื่อมตามวัย
  5. สาเหตุที่ไม่ทราบแน่ชัด (Idiopathic)

  1. ไหล่สองข้างไม่เท่ากัน
  2. แผ่นหลังหรือหน้าอกนูนไม่สมมาตร
  3. กระดูกสันหลังคดงอเห็นได้ชัด
  4. ลำตัวเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง
  5. สะโพกสองข้างไม่เท่ากัน
  6. มีปัญหาในการเดินหรือขาทั้งสองข้างไม่เท่ากัน

  1. ออฟฟิศซินโดรม
  2. เท็กซ์เน็กซ์ซินโดรม (Text Neck Syndrome)

  1. กระดูกสันหลังเสื่อมเร็วขึ้น
  2. ไหล่ห่อ หลังค่อม (Kyphosis)
  3. คอยื่น (Forward Head Posture)

  1. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังและเอว
  2. หมอนรองกระดูกผิดปกติ
  3. กระดูกสันหลังเสื่อม คด หรือผิดรูป
  4. หมอนรองกระดูกปลิ้นหรือกดทับเส้นประสาท
  5. อาการปวด ชาร้าว และกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง

การตระหนักถึงปัญหาและการดูแลสุขภาพกระดูกสันหลังอย่างถูกวิธีเป็นสิ่งสำคัญในยุคปัจจุบัน หากพบอาการผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม

ตรวจสุขภาพหลัง


ในปัจจุบัน ผู้ที่ชอบก้มหน้าใช้โทรศัพท์มือถือมีความเสี่ยงที่จะเกิดกลุ่มอาการคอเสื่อมจากการก้มคอ ทางการแพทย์เปิดเผยว่า การก้มศีรษะลงไปข้างหน้าเพียงเล็กน้อย ผิดจากท่าปกติตามธรรมชาติ (คือเมื่อหูอยู่ในแนวเดียวกับไหล่) จะทำให้น้ำหนักของศีรษะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้กล้ามเนื้อ เอ็น กระดูก และเส้นประสาทบริเวณไหล่และคอต้องรับภาระหนักเพิ่มขึ้น 2-6 เท่า

น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจากการถ่วงไปข้างหน้าจะดึงรั้งกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นทั้งหมด ทำให้เกิดอาการตึง หากทำซ้ำบ่อยครั้งอาจเกิดการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อ เอ็น และเส้นประสาทในบริเวณดังกล่าว

สังเกตความสูงของระดับหัวไหล่ ความนูนของกระดูกสะบัก และระดับแนวกระดูกสะโพก โดยยืนให้เท้าชิดกันแล้วก้มไปด้านหน้า ใช้มือทั้งสองข้างแตะพื้น จะเห็นความนูนของหลังไม่เท่ากัน ยืนหันหลังพิงกำแพง โดยให้ส้นเท้าและหัวไหล่ชิดกำแพง หากท้ายทอยไม่สามารถชิดกำแพงได้ แสดงว่าสรีระเริ่มผิดปกติ มีอาการหลังค่อม คอยื่น

  1. รักษาการทรงท่าให้เหมาะสม โดยหมั่นสังเกตท่าทางของตนเองอย่างสม่ำเสมอ
  2. จัดโต๊ะทำงานให้ถูกหลักเพื่อป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม
  3. ปรับท่าทางในการใช้โทรศัพท์ในชีวิตประจำวัน
  4. ยืดกล้ามเนื้อและออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ และสะบัก
  5. หากสงสัยว่ามีปัญหาด้านกระดูกสันหลัง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

การปรับพฤติกรรมอย่างทันท่วงทีอาจช่วยป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงจนต้องผ่าตัด การรักษาท่าทางที่ถูกต้อง การออกกำลังกาย และการยืดกล้ามเนื้อจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการปวดบริเวณศีรษะ คอ บ่า และไหล่ได้อย่างยั่งยืน

ข้อมูลอ้างอิง:

Moore, K. L., Agur, A. M.R. and Dalley, A. F. 2011. Essential clinical anatomy. 4th ed. Lippincott Williams & Wolters Kluwer business, Philadelphia.

สอบถามข้อมูล

อาการปวดคอ
อาการปวดหลัง
MRI

รพ. เอส ไปน์

เราเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง

ปวดหลัง ปวดคอไม่หาย
ปรึกษาเราเลย!

020340808Line ID @s-spinehospital