020340808

เทคนิคใหม่การรักษากระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท Full Endo TLIF ลดขนาดแผล ได้ผลลัพธ์ดี

การรักษากระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท Full Endo TLIF

การรักษากระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท หรือที่รู้จักกันในชื่อ “กระดูกทับเส้น” ได้ก้าวหน้าไปอีกขั้นด้วยเทคนิค Full Endo TLIF (Full Endoscopic Transforaminal Lumbar Interbody Fusion) ซึ่งเป็นนวัตกรรมล่าสุดในวงการแพทย์ เทคนิคนี้ไม่เพียงแต่ช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วย แต่ยังมอบประสบการณ์การรักษาที่ดีกว่าวิธีดั้งเดิมอย่างเห็นได้ชัด

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลังอธิบายว่า การรักษาด้วยวิธี Full Endo TLIF นี้ เป็นการผสมผสานระหว่างการเชื่อมข้อกระดูกสันหลังและการเปลี่ยนหมอนรองกระดูกเทียม โดยใช้กล้องเอ็นโดสโคปขนาดจิ๋ว ซึ่งช่วยลดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อให้น้อยที่สุด ส่งผลให้แผลมีขนาดเล็กลงอย่างมีนัยสำคัญ และผู้ป่วยฟื้นตัวได้รวดเร็วกว่าวิธีการรักษาแบบเดิม

ผลการรักษากระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท



โรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท หรือ Spondylolisthesis เป็นภาวะที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุเกิน 50 ปีขึ้นไป และพบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เนื่องจากความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่แตกต่างกัน โรคนี้เกิดจากการที่ข้อกระดูกสันหลังเคลื่อนออกจากแนวปกติไปทางด้านหน้า ซึ่งมักพบมากที่สุดบริเวณหลังส่วนล่าง หรือระดับ L4-L5

ผลการวิจัยจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ยืนยันถึงประสิทธิภาพของเทคนิค Endoscopic TLIF ว่าให้ผลการฟื้นตัวที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับเทคนิค MIS TLIF แบบดั้งเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 6 เดือนแรกหลังการรักษา

ที่โรงพยาบาล เอส สไปน์ ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกการใช้เทคนิค Full Endo TLIF ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2566 ได้ให้การรักษาผู้ป่วยมากกว่า 20 รายในช่วงเวลาเพียง 4 เดือน โดยทุกรายแสดงผลการรักษาที่น่าพึงพอใจอย่างยิ่ง

ปัจจุบัน การรักษากระดูกสันหลังเคลื่อนมีหลากหลายวิธี โรงพยาบาล เอส สไปน์ ได้นำเทคนิคใหม่ล่าสุดมาให้บริการ นั่นคือ Full Endo TLIF (Full Endoscopic TLIF) ซึ่งส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อผู้ป่วยน้อยมาก

วิธีการนี้ใช้การเจาะรูส่องกล้องแทนการเปิดแผลขนาดใหญ่ โดยสอดกล้องเอ็นโดสโคปเข้าไปโดยไม่ต้องตัดกล้ามเนื้อ แพทย์จะนำส่วนที่กดทับเส้นประสาทออก เช่น หมอนรองกระดูก เส้นเอ็น และกระดูกสันหลังบางส่วนที่มีปัญหา จากนั้นใส่หมอนรองกระดูกเทียม (Peek) ผ่านกล้อง และเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง (Interbody Fusion) ด้วยสกรูแบบเจาะรู (Percutaneous Screw) เพิ่มอีก 3 รู

เทคนิคนี้ทำลายโครงสร้างกระดูกสันหลังน้อยมาก และช่วยลดอาการปวดแผลของผู้ป่วยลงได้อย่างมากเมื่อเทียบกับการรักษาแบบดั้งเดิม

  1. Endoscopic Assist TLIF: ใช้ในโรงพยาบาลส่วนใหญ่ในประเทศไทย เจาะ 2 รูและใช้อุปกรณ์แยกกัน แม้จะเป็นการส่องกล้อง แต่คล้ายการผ่าตัดเปิด เครื่องมือต้องผ่านชั้นกล้ามเนื้อ อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บมากขึ้นเมื่อขยับหาตำแหน่ง และมีความเสี่ยงในการใช้เครื่องมือผิดพลาด ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง

  2. Full Endo TLIF: มีเฉพาะที่โรงพยาบาล เอส สไปน์ เจาะเพียง 1 รูและใช้อุปกรณ์พิเศษที่รวมกล้องและเครื่องมือไว้ด้วยกัน ลดการทำลายกล้ามเนื้อโดยตรง แพทย์สามารถมองเห็นเครื่องมือตลอดเวลา ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง



  1. ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว
  2. แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก
  3. ภายใน 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยสามารถเดินได้คล่อง

แผลผ่าตัดกระดูกสันหลังเคลื่อนด้วยเทคนิค Full Endo TLIF
แผลผ่าตัดกระดูกสันหลังเคลื่อนด้วยเทคนิค Full Endo TLIF

  1. Full Endo TLIF (Full Endoscopic TLIF)
  • วิธีการ : ใช้กล้องเอ็นโดสโคปสอดผ่านรูขนาดเล็ก โดยไม่ต้องตัดกล้ามเนื้อ
  • ขนาดแผล : ไม่เกิน 1 เซนติเมตร (เท่าขนาดนอตยึดกระดูก)
  • ข้อดี:
    • เสียเลือดน้อย
    • ผู้ป่วยลุกเดินได้เร็ว
    • ปวดน้อยมาก แทบไม่ต้องใช้ยาแก้ปวด
    • นอนโรงพยาบาล 2-4 วัน
    • ฟื้นตัวเร็ว กลับไปใช้ชีวิตปกติได้
  • ข้อควรระวัง: ต้องอาศัยศัลยแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

  1. MIS TLIF (Minimally Invasive Surgery Transforaminal Lumbar Interbody Fusion)
  • ข้อควรระวัง: อาจต้องใช้ยาแก้ปวดใน 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด
  • วิธีการ: เปิดแผลขนาดเล็กที่กลางหลัง สอดอุปกรณ์เข้าไปยังกระดูกสันหลัง
  • ขนาดแผล: ประมาณ 3 ซม.  เซนติเมตรสำหรับการผ่าตัดหลัก และ 1 ซนติเมตร x 4 รู สำหรับยึดนอต
  • ข้อดี:
    • แผลเล็กกว่าการผ่าตัดแบบเปิด
    • ฟื้นตัวเร็วกว่าการผ่าตัดแบบเปิด
    • ไม่ต้องใส่สายระบายเลือด
    • นอนโรงพยาบาล 3-4 วัน

  1. การผ่าตัดแบบเปิดแผล (Open Surgery)
  • วิธีการ: เปิดแผลขนาดใหญ่ที่กลางหลัง เลาะกล้ามเนื้อ ตัดกระดูกบางส่วน
  • ขนาดแผล: 5-7 เซนติเมครหรือตามขนาดของข้อกระดูกที่ต้องผ่าตัด
  • ข้อเสีย:
    • ความเสี่ยงสูง
    • แผลขนาดใหญ่
    • ต้องใส่สายระบายเลือด
    • ผู้ป่วยต้องนอนนิ่ง 24 ชั่วโมงแรก
    • นอนโรงพยาบาล 4-5 วัน
    • ต้องทำกายภาพบำบัดต่อเนื่อง 2-3 เดือน
เปรียบเทีบเทคนิคการผ่าตัดกระดูกสันหลังเคลื่อน
ข้อมูลการเปรียบเทียบเทคนิคการรักษากระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท

หลังจากทำการรักษาผู้ป่วยส่วนมากจะดีขึ้น และสามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติ แต่ในบางรายอาจต้องใช้เวลาประมาณ 4-8 สัปดาห์ กว่าที่จะสามารถกลับไปทำงานได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกายผู้ป่วย แม้ว่าจะรู้สึกดีขึ้นหลังจากทำการผ่าตัด แต่ถ้าหากยังปฏิบัติตัวเหมือนเดิม เช่น ก้มตัว นั่งกับพื้น นั่งยองๆ หรือยกของหนัก ก็มีโอกาสต้องกลับมาผ่าตัดใหม่ในอนาคต

ทั้งนี้หลังการรักษาสามารถออกกำลังกายด้วยการเดินประมาณ 5-10 นาทีในช่วง 6 สัปดาห์แรกได้เนื่องจากกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นยังไม่สมานตัวดีเท่าที่ควร แต่หลังจาก 6 สัปดาห์ไปแล้ว ผู้ป่วยสามารถเดินได้ระยะไกลหรือใช้ระยะเวลาในการเดินได้มากกว่าเดิม เนื่องจากแผลด้านในดีขึ้น ซึ่งการออกกำลังกายในลักษณะนี้จะช่วยฟื้นฟูให้ร่างกายกลับมาปกติได้เร็วยิ่งขึ้น

การดูแลตัวเองไม่ให้เกิดโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท หรือกระดูกทับเส้น จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะการป้องกันย่อมดีกว่าการแก้ไข ดังนั้นเราควรดูแลสุขภาพหลังให้อยู่กับเราได้นานๆ ด้วยการออกกำลังการเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ก่อนการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาควรยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อให้พร้อม จำกัดระยะเวลาในการเล่นกีฬาที่เพิ่มแรงตึงให้กับกระดูกสันหลัง โดยเฉพาะกีฬาที่ต้องใช้การบิดตัวมากๆ หรือการยกน้ำหนัก เพราะอาจเสี่ยงเกิดกระดูกสันหลังเคลื่อนได้ และควรควบคุมน้ำหนักตัวเพื่อให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนได้

ข้อมูลอ้างอิง :

Percutaneous Endoscopic Transforaminal Lumbar Interbody Fusion: Technique Note and Comparison of Early Outcomes with Minimally Invasive Transforaminal Lumbar Interbody Fusion for Lumbar

Spondylolisthesis (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7910530/)

สอบถามข้อมูล

อาการปวดคอ
อาการปวดหลัง
MRI

รพ. เอส ไปน์

เราเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง

ปวดหลัง ปวดคอไม่หาย
ปรึกษาเราเลย!

020340808Line ID @s-spinehospital