020340808

PSLD: นวัตกรรมล่าสุดในการรักษาอาการปวดหลัง – แผลเล็กเจ็บน้อยปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีทันสมัย

ผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยกล้องเอ็นโดสโคป เทคนิค PSLD

โพรงประสาทตีบแคบ (Lumber Spinal Stenosis)
โพรงประสาทตีบแคบ (Lumber Spinal Stenosis)

อาการปวดหลังและปวดเอวมักสร้างความทรมานและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน บางรายถึงขั้นไม่สามารถทำงานหรือดำเนินชีวิตได้ตามปกติ หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่พบบ่อยคือ โรคโพรงประสาทส่วนเอวตีบแคบ

โรคนี้เกิดจากการตีบแคบลงของช่องว่างภายในกระดูกสันหลัง หรือที่เรียกว่า “โพรงกระดูกสันหลัง” หรือโพรงประสาท (Spinal Canal) ซึ่งเป็นทางผ่านของเส้นประสาทไขสันหลัง (Spinal Cord)  การตีบแคบอาจเกิดขึ้นที่ระดับเดียวหรือหลายระดับก็ได้

  1. ความผิดปกติแต่กำเนิดของโพรงกระดูกสันหลัง
  2. การเสื่อมสภาพตามวัย
  3. โรคกระดูกต่างๆ เช่น โรคกระดูกพรุน หรือกระดูกเสื่อม

นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากกระดูกหรือเอ็นหนาตัวขึ้น หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน หรือกระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis)

  1. ปวดหลังและอาจร้าวลงขาข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง
  2. เดินแล้วรู้สึกขาอ่อนแรงหรือปวดขา
  3. อาการชาที่ขาหรือปวดน่อง ทำให้ต้องหยุดพักเป็นระยะขณะเดิน
  4. รู้สึกหนักบริเวณก้นหรือสะโพก โดยเฉพาะเมื่อยืนหรือเดินนาน
  5. อาจมีปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่าย เช่น กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะไม่ออก หรือท้องผูก
  6. อาจส่งผลต่อสมรรถภาพทางเพศ

โรคนี้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อคุณภาพชีวิต แต่ด้วยเทคนิคการรักษาใหม่ๆ อย่าง PSLD ที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัย ทำแผลเล็ก และลดความเจ็บปวด ทำให้ผู้ป่วยมีทางเลือกในการรักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ควรพบแพทย์โดยเร็วหากคุณมีอาการดังต่อไปนี้

  1. ปวดขาหรือปวดหลังรุนแรงจนกระทบต่อการเดินหรือการใช้ชีวิตประจำวัน
  2. เดินได้ระยะทางสั้นลง หรือ ต้องหยุดพักบ่อย
  3. กล้ามเนื้อขาลีบ หรือ มีอาการชาที่ขา
  4. มีปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่าย

นอกจากนี้ ควรพบแพทย์ด่วนหากมีอาการต่อไปนี้ร่วมด้วย:

  1. ปวดบริเวณด้านหลังขาร่วมกับมีไข้
  2. น้ำหนักลดผิดปกติหรือเบื่ออาหาร
  3. ปวดรุนแรงขณะนอนพักหรือในเวลากลางคืน
  4. อาหารเหล่านี้อาจบ่งชี้ถึงการติดเชื้อ หรือ โรคร้ายแรงอื่นๆ เช่น มะเร็งกระดูกสันหลัง

  1. ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
  2. ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน
  3. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  4. ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
การดูแลใส่ใจอย่างอบอุ่นจากแพทย์ เพื่อความมั่นใจในการรักษา

แพทย์เฉพาะทางจะวินิจฉัยโรคจาก:

  1. การซักประวัติ-อาการ ของคนไข้
  2. การตรวจร่างกาย
  3. การตรวจทางรังสีวิทยา
    • เอกซเรย์ (X-ray): ใช้ประเมินโครงสร้างกระดูกสันหลังเบื้องต้น
    • เอ็ม อาร์ ไอ (MRI): ใช้เมื่อต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือ เตรียมการผ่าตัด

MRI แบบเปิด (Open MRI) สำหรับคนที่กลัวที่แคบ
MRI แบบเปิด (Open MRI)
  1. การใช้ยา: สำหรับผู้ที่มีอาการปวดหลังในระยะเริ่มต้นแพทย์จะให้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวด
    • ยาต้านการอักเสบ
    • ยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล (Paracetamol)
    • ยาคล้ายกล้ามเนื้อ
    • ยาต้านซึมเศร้า หรือ ยากันชักบางชนิด (สำหรับอาการปวดจากเส้นประสาทถูกกดทับ)

  2. การทำกายภาพบำบัด
    • การกระต้นเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า (Transcutaneous Electrical Nerve Stimulation – TENS)
    • การนวด
    • การใช้คลื่นอัลตร้าซาวด์
    • การฝังเข็ม (Acupuncture)
    • การดึงขยายข้อต่อกระดูกสันหลัง (Traction)
    • การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังและขา

  3. การผ่าตัด: แพทย์จะพิจารณาวิธีการผ่าตัด เมื่อ
    • ผู้ป่วยรับการรักษาด้วยวิธิการใช้ยา และ กายภาพบำบัด ไม่ได้ผล
    • เมื่ออาการรุนแรงจนกระทบต่อคุณภาพชีวิต
    • เมื่อมีปัญหาการควบคุมระบบขับถ่าย

ที่โรงพยาบาล เอส สไปน์ มีเทคนิคการผ่าตัดพิเศษ โดยใช้การส่องกล้องผ่านแผลขนาดเล็กเพียง 0.5 เซนติเมตร ซึ่งให้ผลการรักษาที่ดี และผู้ป่วยเจ็บตัวน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิด

ทั้งนี้การรักษาที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับอาการและการวินิจฉัยของแพทย์เฉพาะทาง

PSLD หรือ Percutaneous Stenoscopic Lumbar Decompression เป็นเทคนิคการผ่าตัดที่ทันสมัย ใช้กล้องเอ็นโดสโคปทำการผ่าตัด ทำให้แผลมีขนาดเล็กในการรักษา โดยมีข้อดีหลายประการ ดังนี้

  1. แผลผ่าตัดขนาดเพียง 0.5 เซนติเมตร
  2. สูญเสียเลือดน้อย
  3. ฟื้นตัวเร็ว สามารถลุกเดินได้หลังผ่าตัด
  4. ความปลอดภัยสูง และความเสี่ยงติดเชื้อต่ำ
  5. นอนโรงพยาบาลเพียง 1 คืน
  6. ค่าใช้จ่ายน้อยการกว่าการผ่าตัดแบบเดิม
  7. ลดการทำลายเนื้อเยื่อรอบบริเวณผ่าตัด
  8. สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เร็ว

แผลผ่าตัดกระดูกสันหลัง ขนาด 0.5 เซนติเมตร ด้วยเทคนิค PSLD
แผลผ่าตัดกระดูกสันหลัง ขนาด 0.5 เซนติเมตร ด้วยเทคนิค PSLD

  1. ผู้ป่วยได้รับยาสลบ
  2. แพทย์สอดกล้องเอ็นโดสโคป ผ่านแผลขนาด 0.5 เซนดิเมตร
  3. กล้องเอ็นโดสโคปช่วยให้แพทย์เฉพาะทางฯ มองเห็นเส้นประสาทได้ชัดเจน
  4. แทพย์เฉพาะทางฯ เลือกตัดเฉพาะส่วนหมอนรองกระดูกที่กดทับเส้นประสาท
  5. แพทย์เฉพาะทางฯ และทีม ใช้เวลาในการผ่าตัดประมาณ 30-45 นาที
  6. ผู้ป่วยสามารถลุกเดินได้ทันทีหลังการผ่าตัด

ภาพ MRI กระดูกสันหลัง ก่อนและหลังการรักษาด้วยเทคนิค PSLD
ภาพ MRI กระดูกสันหลังส่วนเอว ก่อน (ซ้าย) และ หลัง (ขวา) การรักษาโพรงประสาทตีบแคบด้วย PSLD

  1. ควบคุมน้ำหนัก
  2. หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
  3. ระวังการก้มเงย และ นั่งทำงานในท่าเดียวกันนานเกิน 2 ชั่วโมง
  4. ปรับพฤติกรรมการใช้หลังให้ถูกวิธี
  5. ทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง
  6. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก

หากท่านมีอาการปวดหลังหรือปัญหาเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง สามารถปรึกษาเราเพื่อประเมินแนวทางการรักษาที่เหมาะสม เพื่อการหายอย่างยั่งยืน

สอบถามข้อมูล

อาการปวดคอ
อาการปวดหลัง
MRI

รพ. เอส ไปน์

เราเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง

ปวดหลัง ปวดคอไม่หาย
ปรึกษาเราเลย!

020340808Line ID @s-spinehospital