020340808

ยิ่งก้ม ยิ่งเสี่ยง: ทำความรู้จักกับ “โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทส่วนคอ” (Text Neck Syndrome)

20241011 pd web cover ยิ่งก้มยิ่งเสี่ยง

ช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา คนทั่วโลกมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตมากขึ้น ทำให้ทุกคนหันมาใช้โทรศัพท์มือถือในการเช็คข้อมูลข่าวสาร ซื้อของ หรือทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ผ่านโลกออนไลน์กันแทบจะทุกวินาที และแน่นอนที่สุดเมื่อมีการใช้งานเป็นจำนวนมากและใช้เวลานาน จึงทำให้เกิดกลุ่มอาการต่างๆ ของโรคที่เกี่ยวกับการใช้งานโทรศัพท์นานๆตามมา หนึ่งในนั้นก็คืออาการ Text Neck Syndrome หรือ โรคใหม่แห่งยุคสังคมก้มหน้า

จากการรายงานเกี่ยวกับดิจิทัลของประเทศไทย เมื่อเดือนมกราคม ปี 2020 โดย Hootsuite แพลตฟอร์มเกี่ยวกับการจัดการด้านโซเชียลมีเดีย ระบุว่า คนไทยประมาณ 69.71 ล้านคน ใช้โทรศัพท์มือถือ 93.39 ล้านหมายเลข (ร้อยละ 134 – คิดจากซิมที่มีผู้ลงทะเบียน) 52 ล้านคน (ร้อยละ 75) ใช้อินเทอร์เน็ต และ 52 ล้านคน (ร้อยละ 75) ใช้โซเชียลมีเดียอย่างสม่ำเสมอ

image

จากตัวเลขข้างต้นพบว่า ประชากรในประเทศไทย มีพฤติกรรมใช้สมาร์ตโฟน และโซเชียลมีเดียอย่างสม่ำเสมอ  และมีอัตราเพิ่มขึ้นในทุกๆ วัน ซึ่งอยู่ในกลุ่มเสี่ยงของอาการ Text Neck Syndrome เพราะต้องก้มหน้าพิมพ์ข้อความแชต และใช้สมาร์ตโฟนจนเกินพอดี

สถาบันเทคโนโลยีการผ่าตัดนานาชาติ (Surgical Technology International) ระบุว่า กระดูกสันหลังของผู้ใช้สมาร์ตโฟนต้องรับแรงกดจากการก้มหน้าเล่นสมาร์ตโฟนมากถึง 1,000 – 1,400 ชั่วโมงต่อปี

ซึ่งศีรษะของมนุษย์มีน้ำหนักประมาณ 4-5 กิโลกรัม แต่การก้มหน้าทำให้ตำแหน่งของศีรษะเคลื่อนไปข้างหน้า ยิ่งก้มมากเท่าไหร่ คอยิ่งต้องรับน้ำหนักมากขึ้น

  • ถ้าก้มหน้า 30 องศา คอรับน้ำหนักเพิ่มเป็น 18 กิโลกรัม
  • ถ้าก้มหน้า 45 องศา คอรับน้ำหนัก 22 กิโลกรัม 
  • ถ้าก้มหน้า 60 องศา (หน้างอคอหัก) คอรับน้ำหนัก 27 กิโลกรัม 

image

การป้องกัน Text Neck Syndrome นั้นสามารถทำได้โดยการปรับลักษณะนิสัยในการใช้สมาร์ตโฟน ไม่ว่าจะเป็นท่าทางในการใช้งาน หรือระยะเวลาที่ใช้งาน โดยเราควรจะพยายามให้ท่าทางของคออยู่ในแนวตรงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ก้มหลัง และไม่ห่อไหล่ ในขณะที่ใช้งานสมาร์ตโฟน มีการพักเปลี่ยนอิริยาบถเป็นระยะ ในขณะใช้งานสมาร์ตโฟนต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ

1. การรักษาอาการโดยการกายภาพบำบัด 

 เช่น การคลายกล้ามเนื้อ การยืดกล้ามเนื้อ การสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ      และการปรับท่าทางของร่างกายให้อยู่ในอิริยาบถที่เหมาะสม 

2.การใช้ยาเพื่อลดการอักเสบ ปวดคอ และคลายกล้ามเนื้อก็สามารถช่วยลดอาการปวดได้เช่นกัน

3.สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจนถึงมีการเสื่อมของกระดูก หรือหมอนรองกระดูกคอ ร่วมกับการกดทับไขสันหลังหรือรากประสาท อาจจะต้องพิจารณาถึงการรักษาโดยวิธีการผ่าตัดส่องกล้องหรือเลเซอร์

ซึ่งการผ่าตัดบริเวณกระดูกคอในปัจจุบัน สามารถทำได้โดย การผ่าตัดแบบ MIS Minimally Invasive Surgery (MIS) หรือ การผ่าตัดส่องกล้อง โดยการเจาะผิวหนังบริเวณที่จะทำการรักษาเป็นรูขนาดเล็ก ๆ เพื่อใส่กล้องและเครื่องมือผ่าตัดลงไปเพื่อทำการผ่าตัด แพทย์สามารถมองเห็นรายละเอียดของตำแหน่งภายในร่างกายที่ต้องการผ่าตัดได้ชัดเจน และเป็นวิธีการผ่าตัดที่เจ็บตัวน้อย ผู้ป่วยไม่ต้องพักฟื้นเป็นเวลานาน ลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของเส้นประสาทได้ค่อนข้างต่ำมาก ช่วยให้การผ่าตัดแม่นยำและปลอดภัยมากขึ้น ผลของการผ่าตัดมีประสิทธิภาพสูง การฟื้นตัวของผู้ป่วยเร็วกว่าการผ่าตัดแบบทั่วไป

หากคุณเป็นผู้หนึ่งที่ใช้สมาร์ตโฟน และโซเชียลมีเดียอย่างสม่ำเสมอ คุณกำลังเป็นกลุ่มเสี่ยงของอาการ Text Neck Syndrome อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพักสายตาจากหน้าจอ และเตือนตัวเองให้ใช้สมาร์ตโฟนอย่างพอดี จะทำให้คุณห่างไกลจากโรคนี้ได้ หรือหากมีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น แนะนำให้เข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกระดูกสันหลังและระบบประสาท เพื่อการรักษาที่ถูกต้องและหายจากอาการปวดคอและหลังอย่างยั่งยืน

สอบถามข้อมูล

อาการปวดคอ
อาการปวดหลัง
MRI

รพ. เอส ไปน์

เราเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง

ปวดหลัง ปวดคอไม่หาย
ปรึกษาเราเลย!

020340808Line ID @s-spinehospital