020340808

4 โรคฮิตของคน “ปวดคอ” รู้ก่อนป้องกันได้

20250101 ac sm th web 16x9 4โรคฮิตของคนปวดคอ 01

แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง เตือน  4 โรคกระดูกสันหลังส่วนคอที่พบได้บ่อย ซึ่งสาเหตุมักมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น การก้มหน้าเล่นโทรศัพท์เป็นเวลานาน หรือ การนั่งทำงานในท่าเดิมซ้ำ ๆ ต่อเนื่องหลายชั่วโมง นอกจากนี้ การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่มีแรงกระแทกรุนแรงบริเวณคอ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้โครงสร้างกระดูกสันหลังส่วนคอและเส้นประสาทบริเวณนี้เสียหาย ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในระยะยาวได้

ก่อนจะไปรู้จักกับ  โรคยอดฮิตเหล่านี้ มาดูกันว่ากระดูกสันหลังส่วนคอมีความสำคัญอย่างไร

กระดูกสันหลังส่วนคอ เป็นโครงสร้างสำคัญที่เชื่อมระหว่างศีรษะและลำตัว ประกอบด้วยกระดูก 7 ข้อ เรียงจากฐานกะโหลกศีรษะถึงแนวไหล่ ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักศีรษะประมาณ 4-6 กิโลกรัม และช่วยให้ศีรษะเคลื่อนไหวได้หลายทิศทาง เช่น ก้ม เงย หันซ้าย-ขวา และหมุน อีกทั้ง ยังปกป้องไขสันหลังและเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของแขน มือ และกล้ามเนื้อคอ    

ด้วยโครงสร้างที่เล็กและซับซ้อน โดยมีส่วนประกอบของ ข้อต่อ หมอนรองกระดูก และเส้นประสาท จึงทำให้ กระดูกสันหลังส่วนคอ มีความสำคัญ หากไม่ดูแลป้องกันอาจเสี่ยงต่อการบาดเจ็บและเกิดโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังส่วนคอได้ 

20250101 ac sm th web 16x9 4โรคฮิตของคนปวดคอ 02
ภาพ X-RAY กระดูกสันหลังส่วนคอ

เกิดจากภาวะเสื่อมสภาพของข้อต่อกระดูกสันหลังส่วนคอที่เชื่อมกระดูกสันหลังแต่ละข้อ ประกอบด้วยกระดูกอ่อนที่ทำหน้าที่ลดแรงเสียดทานระหว่างการเคลื่อนไหว แต่เมื่อข้อต่อเสื่อมสภาพจากการใช้งาน กระดูกอ่อนที่บุข้อต่ออาจบางลง ทำให้เกิดแรงเสียดทานสูงระหว่างกระดูกสันหลัง

การเสื่อมสภาพของข้อต่อกระดูกสันหลังคอ อาจกระตุ้นให้ร่างกายซ่อมแซมตัวเองจนเกิดกระดูกงอก หรือการสะสมของหินปูนบริเวณข้อต่อ แม้กระดูกงอกจะช่วยเสริมความมั่นคง แต่ในบางกรณีกลับกดทับเส้นประสาทหรือไขสันหลัง การอักเสบเรื้อรัง หรือ แรงกดซ้ำ ๆ ยังอาจทำให้เกิดหินปูนสะสมรอบข้อต่อ ลดความยืดหยุ่น และเพิ่มความรุนแรงของอาการ

ผู้ป่วยมักมีอาการปวดบริเวณต้นคอ รู้สึกฝืดหรือขยับคอได้ลำบาก โดยเฉพาะหลังตื่นนอน หรือ หลังการใช้งานคอหนัก เช่น การนั่งทำงานนาน ๆ หรือการเคลื่อนไหวคอในท่าซ้ำ ๆ หากโรครุนแรง อาการปวดอาจร้าวลงไปยังไหล่ แขน หรือ มือ และอาจเกิดอาการชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ สูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อบริเวณนั้นได้ในกรณีที่เส้นประสาท หรือ ไขสันหลังถูกกดทับจากกระดูกงอก หรือ หินปูนที่สะสมอยู่ในข้อต่อ

หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอ หรือ ที่เรียกสั้น ๆ ว่า หมอนรองกระดูกคอ เป็นส่วนสำคัญที่ทำหน้าที่เป็นตัวกันกระแทกระหว่างกระดูกคอแต่ละข้อ ช่วยรองรับแรงกดและเพิ่มความยืดหยุ่นในการเคลื่อนไหว เช่น การก้ม เงย หรือ หมุนศีรษะ โดยมีแกนเจลด้านในที่ทำหน้าที่กระจายแรงกดจากการเคลื่อนไหว และลดแรงกระแทก เพื่อป้องกันไม่ให้แรงนั้นส่งผลโดยตรงต่อกระดูกคอ

แต่เมื่อหมอนรองกระดูกคอเสื่อมสภาพ หรือ ฉีกขาด เนื้อเยื่อผนังชั้นนอก (Annulus Fibrosus) ที่หุ้มแกนเจลด้านในจะสูญเสียความแข็งแรงและยืดหยุ่น ทำให้แกนเจลด้านในเคลื่อนตัว หรือ ปลิ้นออกจากตำแหน่งเดิม โครงสร้างที่เสียสมดุลนี้ อาจส่งผลให้หมอนรองกระดูกคอไปกดทับเส้นประสาท ไขสันหลัง หรือ เนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง

เริ่มจากอาการปวดร้าวจากบริเวณคอลงไปยังแขนหรือปลายนิ้ว ซึ่งบางรายอาจมีอาการชาหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงร่วมด้วย หากหมอนรองกระดูกที่เสื่อมกดทับใกล้บริเวณไขสันหลัง อาการอาจรุนแรงขึ้น ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหว และระบบประสาทส่วนล่าง เช่น การควบคุมระบบขับถ่ายผิดปกติ หรือ สูญเสียการทรงตัว


เกิดจากภาวะที่มีการตีบแคบลงของโพรงที่เป็นช่องตลอดความยาวภายในกระดูกสันหลังส่วนคอแคบลง จนเกิดการกดทับเส้นประสาทหรือไขสันหลัง ภาวะนี้มักเกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกและหมอนรองกระดูกตามวัย สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ การเกิดกระดูกงอกเพื่อตอบสนองต่อแรงเสียดสีของกระดูก การเสื่อมของหมอนรองกระดูกที่ยุบตัวลง หรือ การปลิ้นของหมอนรองที่เบียดช่องโพรงกระดูก

นอกจากนี้ ภาวะนี้ยังอาจเกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างกระดูกตั้งแต่กำเนิด หรือ ปัจจัยทางพันธุกรรมที่ทำให้ช่องโพรงกระดูกแคบผิดปกติ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการได้ตั้งแต่อายุยังน้อย และอาจรุนแรงมากขึ้นเมื่อมีการเสื่อมสภาพตามวัย

เมื่อโพรงกระดูกแคบลงจนกดทับเส้นประสาท หรือ ไขสันหลัง ส่งผลให้การส่งสัญญาณประสาทผิดปกติ ผู้ป่วยมักมีอาการปวดคอร้าวลงไปที่แขนหรือขา รู้สึกชา หรือ เหมือนถูกเข็มทิ่มตามแนวเส้นประสาท บางรายอาจมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง เคลื่อนไหวลำบาก และคอแข็งจนไม่สามารถก้มเงยหรือหมุนคอได้ตามปกติ

โรคที่กล่าวมาข้างต้นนั้น จะมีแนวทางการรักษาที่คล้ายกันขึ้นอยู่กับอาการของโรค โดยส่วนใหญ่จะเริ่มรักษาจากน้อยไปมาก ตั้งแต่กายภาพ ทานยา ฉีดยาแก้ปวด แต่หากต้องผ่าตัดควรเข้ามาปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อหาแนวทางการรักษาต่อไป

เป็นภาวะที่กระดูกสันหลังส่วนคอเลื่อนออกจากตำแหน่งปกติ ส่งผลให้โครงสร้างกระดูกสันหลังส่วนคอเสียสมดุล การเคลื่อนของกระดูกอาจเกิดได้ทั้งในลักษณะเลื่อนไปข้างหน้า (Anterolisthesis) หรือ เลื่อนไปด้านหลัง (Retrolisthesis) ขึ้นอยู่กับระดับความเสียหายของโครงสร้างสำคัญ เช่น ข้อต่อกระดูก (Facet Joint), หมอนรองกระดูก (Intervertebral Disc) และเส้นเอ็นที่ทำหน้าที่ยึดกระดูกให้อยู่ในตำแหน่งเดิม

เมื่อโครงสร้างเหล่านี้ เกิดความเสียหายหรือไม่สามารถรองรับแรงกระแทกและแรงกดได้ กระดูกจึงเคลื่อนตัวออกจากตำแหน่งเดิม การเคลื่อนดังกล่าวอาจทำให้เกิดแรงกดทับบริเวณเส้นประสาทหรือไขสันหลัง ส่งผลต่อการทำงานของระบบกระดูกและเส้นประสาทในระยะยาว

อาการที่พบบ่อย ได้แก่ ปวดต้นคอร้าวไปยังหัวไหล่ บ่า สะบักหลังบน แขน  หรือนิ้วมือ หากการกดทับเกิดที่ไขสันหลัง อาจส่งผลกระทบรุนแรง เช่น การสูญเสียการทรงตัว ความผิดปกติของระบบขับถ่าย หรือ สูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อในร่างกายส่วนล่าง 

กระดูกสันหลังส่วนคอเคลื่อน มีความแตกต่างจากหมอนรองกระดูกคอเคลื่อนอย่างชัดเจน ในด้านการรักษา โดยเฉพาะในกรณีที่กระดูกเคลื่อนออกจากตำแหน่ง ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างกระดูกสันหลัง การรักษามักจำเป็นต้องใช้การผ่าตัดเพื่อเชื่อมกระดูกเข้าด้วยกัน เพื่อฟื้นฟูความมั่นคงและการทำงานของกระดูกสันหลัง

อาการปวดคอหรือหลัง สามารถบรรเทาได้ในบางกรณี เช่น การนวดเพื่อช่วยคลายความตึงของกล้ามเนื้อจากการใช้งานหนัก แต่การนวดไม่สามารถแก้ไขความผิดปกติของโครงสร้างกระดูกสันหลัง หรือ เส้นประสาทได้ หากอาการปวดเกิดจากภาวะที่รุนแรง เช่น หมอนรองกระดูกคอปลิ้น กระดูกสันหลังเคลื่อน หรือ โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ การนวดที่ไม่เหมาะสม หรือการบิดดัด โดยไม่มีการประเมินจากแพทย์ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บได้

ดังนั้น การป้องกันตั้งแต่เริ่มต้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ เช่น การปรับพฤติกรรมการใช้งานคอ หลีกเลี่ยงการก้มคอนาน ๆ รวมถึงดูแลสุขภาพร่างกายด้วยการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม หากมีสัญญาณอาการผิดปกติ   ควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อวินิจฉัยและรักษาได้อย่างถูกต้อง  

สอบถามข้อมูล

อาการปวดคอ
อาการปวดหลัง
MRI

รพ. เอส ไปน์

เราเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง

ปวดหลัง ปวดคอไม่หาย
ปรึกษาเราเลย!

020340808Line ID @s-spinehospital