020340808

รักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคยอดฮิตของคนปวดหลัง

รักษา หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคยอดฮิตของคนปวดหลัง

หากคุณมีอาการปวดหลัง ตึงหลัง ขาชา เดินลำบาก อาการที่นึกถึงอาจเป็น “กระดูกทับเส้น” แต่ในความเป็นจริง สาเหตุที่แท้จริงคือ “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” (Herniated Nucleus Pulposus) ซึ่งต่างจากโรคกระดูกทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเกิดขึ้นได้อย่างไร?

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น หมอนรองกระดูกเสื่อมจากการใช้งานมาเป็นเวลานาน อายุที่เพิ่มขึ้น พฤติกรรมการใช้ชีวิต และอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนต่อกระดูกสันหลัง ทำให้นํ้าในหมอนกระดูกสันหลังแตกและเคลื่อนออกมากดเบียดเส้นประสาท ส่งผลให้มีอาการปวดชาหรือแขน-ขาอ่อนแรง

หมอนรองกระดูกปลิ้นคือ?
ปวดหลังไม่หาย…ต้องรักษา

กลไกการเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

  1. Nucleus pulposus: สารนํ้าลักษณะคล้ายเจลลี่ในแกนกลางของหมอนรองกระดูก มีหน้าที่ดูดซับแรงกระแทกและกระจายแรงของนํ้าหนักตัวที่ส่งผ่านมายังกระดูกสันหลังแต่ละข้อ
  2. Annulus fibrosus: เส้นเอ็นก่อตัวเป็นชั้นๆ ห่อหุ้ม Nucleus pulposus มีหน้าที่ให้ข้อต่อระหว่างกระดูกสันหลังมีความมั่นคงแข็งแรง ป้องกันไม่ให้สารนํ้าใน Nucleus pulposus ปลิ้นออกมาภายนอก

อาการของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

เกิดจากการเสื่อมของ Annulus fibrosus จากการทำงานที่ส่งผลต่อกระดูกสันหลังโดยตรง เช่น การก้มหลังยกของหนัก, การขับรถนาน, การทำกิจกรรมที่ต้องก้มๆ เงยๆ หลังเป็นประจำ, อุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนต่อกระดูกสันหลัง การก้มหลังพร้อมบิดตัว ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้เพิ่มแรงเครียดต่อ Annulus fibrosus อย่างมากจนทำให้เกิดการฉีกขาด สารนํ้าใน Nucleus pulposus จึงดัน Annulus fibrosus ออกมาทางด้านหลัง ทำให้สารนํ้าออกมากดทับเส้นประสาทที่อยู่ด้านหลังหมอนรองกระดูก จนเกิดอาการปวดหลัง ชาขา หรืออาการผิดปกติต่างๆ

เทคนิคการผ่าตัดกระดูกสันหลัง มีกี่วิธี ที่คุณเลือกได้
ผ่าตัดส่องกล้องรักษาโรคหมอนรองกระดูกตีบตัน ด้วยเทคนิค PSLD
MRI แบบยืน ค้นหาสาเหตุของคนปวดหลัง

ระดับความรุนแรงของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

  1. Bulging disc: หมอนรองกระดูกเคลื่อนมาทางด้านหลังไม่เกิน 3 มิลลิเมตร และ Annulus fibrosus ยังปกติ
  2. Protrusion: หมอนรองกระดูกเคลื่อนมาทางด้านหลังมากกว่า 4 มิลลิเมตร และสารนํ้าอยู่ชิดกับขอบนอกของ Annulus fibrosus แต่ยังไม่ทะลุออกมา ผู้ป่วยเริ่มมีอาการปวดหลัง ขาชาเป็นๆ หายๆ
  3. Extrusion: หมอนรองกระดูกเคลื่อนมาทางด้านหลังมากกว่า 8 มิลลิเมตร และมีสารนํ้าภายในหมอนรองทะลุออกมาจาก Annulus fibrosus แต่ยังคงมีการเชื่อมติดกันอยู่ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดคงที่ ขาชาตลอดเวลา
  4. Sequestration: หมอนรองกระดูกเคลื่อนออกมาจาก Annulus fibrosus เต็มที่ และไม่มีการเชื่อมติดกันของหมอนรองกระดูกที่ออกมากับที่อยู่ภายใน ระยะนี้ถือว่าร้ายแรงที่สุด ผู้ป่วยมักเข้ารับการผ่าตัดในระยะนี้เพราะทนอาการปวดไม่ไหว

ผลกระทบที่ตามมาหลังหมอนรองกระดูกเสื่อม

เมื่อสารนํ้าภายในหมอนรองกระดูกปลิ้นออกมาภายนอกหรือสูญหายไปบางส่วน หมอนรองกระดูกสันหลังจะตีบแคบลงเรื่อยๆ ทำให้เกิดโรคกระดูกสันหลังเสื่อม เพราะข้อต่อ facet joint ภายในกระดูกสันหลังต้องแบกรับนํ้าหนักที่มากขึ้นจนเกิดการเสื่อมขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตึงหลัง รู้สึกหลังขัดๆ เมื่อต้องก้มหรือแอ่นหลัง

อาการกระดูกทับเส้นหรือหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

อาการกระดูกทับเส้นหรือหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนอกจากจะมีอาการชาขาแล้วยังมีอาการปวดหลังด้วย มี 2 ประเด็นคือ:

  1. มีภาวะกระดูกสันหลังเสื่อมทำให้ข้อต่อ facet อักเสบจนเกิดอาการปวดหลัง
  2. หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทแขนงใหญ่ที่อยู่กลางกระดูกสันหลัง ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเป็นอัมพาต

วิธีการลดปวดจากอาการกระดูกทับเส้นง่ายๆ

  1. นอนคว่ำและประคบผ้าร้อน: นอนคว่ำแล้วนำผ้าร้อนประคบหลังไว้ 20-30 นาที หากนอนคว่ำไม่ได้ ให้นำหมอนใบใหญ่มาหนุนไว้ที่หน้าท้องเพื่อช่วยลดอาการปวด
  2. แอ่นหลัง: ใช้แขนยันตัวขึ้นโดยที่เอวยังคงติดเตียง พยายามแอ่นหลังให้มากที่สุดโดยไม่รู้สึกปวด ทำท่านี้จำนวน 10 ครั้ง
  3. บริหารกล้ามเนื้อหลัง: นอนคว่ำแล้วแอ่นหลังขึ้นจนอกพ้นพื้น ทำจำนวน 10 ครั้ง หากรู้สึกว่ากล้ามเนื้อแข็งแรงมากขึ้น ให้เพิ่มความยากโดยการเอาแขนไขว้หลังและยกลําตัวขึ้นค้างไว้ 10 วินาที จำนวน 10 ครั้ง
  4. เดินในนํ้า: เดินในสระนํ้าที่มีความสูงระดับอก เดินเตะขาไปด้วย หรือยืนนิ่งๆ แล้วย่อตัวลงคล้ายกับท่านั่งเก้าอี้ลม เพื่อใช้แรงดันนํ้าเป็นตัวดันให้สารนํ้ากลับเข้าที่

การรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หากอาการปวดหลังไม่ดีขึ้น ควรเข้าพบแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังเพื่อตรวจประเมินร่างกายและวางแผนการรักษาต่อไป

เรามีเครื่องมือทันสมัยและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้การวินิจฉัยและรักษา

  1. การตรวจด้วย MRI แบบเปิด (Open MRI):
    • สบาย ไม่อึดอัด
    • ญาติสามารถอยู่ใกล้ชิด
    • ให้ภาพที่ชัดเจน แม่นยำสูง
  2. ทางเลือกการรักษาที่หลากหลาย:
    • การรักษาแบบไม่ผ่าตัด เช่น กายภาพบำบัด, การใช้เลเซอร์
    • การผ่าตัดแบบเฉพาะเจาะจง เมื่อจำเป็น
  1. นอนคว่ำและประคบร้อน:
    • นอนคว่ำ ใช้หมอนรองหน้าท้อง
    • ประคบร้อนบริเวณหลัง 20-30 นาที
    • ค่อยๆ แอ่นหลังเพื่อดันสารน้ำกลับเข้าที่
  2. การเดินในน้ำ:
    • เดินในสระน้ำลึกระดับอก
    • ใช้แรงดันน้ำช่วยดันสารน้ำกลับเข้าที่

ข้อควรระวัง: หากมีอาการรุนแรงหรือเรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์ทันที

  • ไม่ต้องรอคิวนาน พบแพทย์และตรวจในวันเดียวกัน
  • มีประสบการณ์สูงในการรักษาโรคกระดูกสันหลังและระบบประสาท
  • ใช้เทคโนโลยีทันสมัยเพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่แม่นยำ
  • มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญดูแลอย่างใกล้ชิด

อย่าปล่อยให้อาการปวดหลังส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต หากคุณมีอาการที่สงสัยว่าอาจเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ติดต่อเราวันนี้เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม
“Your Smart Choice for Spine and Nerve Care”

S-spine รพ.เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังและระบบประสาท โทร 02-0340808

สอบถามข้อมูล

อาการปวดคอ
อาการปวดหลัง
MRI

รพ. เอส ไปน์

เราเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง

ปวดหลัง ปวดคอไม่หาย
ปรึกษาเราเลย!

020340808Line ID @s-spinehospital