การรักษาโรคกระดูกสันหลัง นอกจากแพทย์ต้องมีความชำนาญในการรักษา สิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาหายได้เร็วขึ้น คือ เทคโนโลยีการรักษาแบบใหม่ ซึ่งแพทย์จำเป็นต้องเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
ดังนั้น ความเชี่ยวชาญจึงหมายถึง การที่แพทย์สามารถใช้ความรู้ในการรักษาโรคกระดูกสันหลังต่างๆ ผ่านเทคนิคที่หลากหลาย โดย 6 เทคนิคการรักษาในปัจจุบัน ที่น่าสนใจ หากแพทย์สามารถทำได้ทั้งหมด ก็จะเป็นประโยชน์กับผู้ป่วย ในการเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสม
ซึ่งเทคนิคต่อไปนี้ จะมีความยากซับซ้อน แตกต่างกันออกไป ตามเครื่องมือที่ใช้
1.การรักษาด้วย “เลเซอร์” เป็นหนึ่งในเทคนิคที่ทันสมัย ในกระบวนการรักษาหมอนรองกระดูกปลิ้น แพทย์ต้องมีทักษะและความแม่นยำสูง การใช้ Fluoroscopy และ MRI ช่วยให้แพทย์มองเห็นตำแหน่งของหมอนรองกระดูกในแบบเรียลไทม์ ทำให้การสอดเข็มและการวางตำแหน่งอุปกรณ์เป็นไปอย่างถูกต้อง ลดความเสี่ยงต่อเส้นประสาท
เลเซอร์ เป็นเทคโนโลยีที่ต้องการความเข้าใจและการควบคุมอย่างละเอียด แพทย์จะต้องปรับระดับพลังงานให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดความร้อนเพียงพอในการหดหมอนรองกระดูกโดยไม่ทำลายเนื้อเยื่อใกล้เคียง ทุกการขยับเข็มต้องมีความนิ่งและแม่นยำ ราวกับการสร้างงานศิลป์ที่ต้องการความประณีตสูงสุด
2. การผ่าตัดส่องกล้อง PSLD (Percutaneous Stenoscopic Lumbar Decompression) เป็นวิธีที่แพทย์นิยมใช้ในการรักษาโรคกระดูกสันหลังมากที่สุด โดยแพทย์ต้องมีความรู้และทักษะเฉพาะทางหลายด้าน เริ่มต้นด้วยการใช้ Fluoroscopy เพื่อระบุตำแหน่งและนำทางการสอดกล้องเข้าไปยังจุดที่ต้องการรักษาอย่างแม่นยำ
จากนั้น แพทย์จะทำการรักษาผ่านจอมอนิเตอร์ที่แสดงภาพขยายภายในโพรงกระดูกสันหลังอย่างละเอียด เพื่อให้สามารถใช้เครื่องมือพิเศษคีบและตัดเนื้อเยื่อส่วนที่กดทับหมอนรองกระดูกปลิ้น หรือ จากการบีบรัดจากกระดูกข้อต่อและเส้นเอ็น ได้อย่างปลอดภัย ซึ่งการใช้กล้องและอุปกรณ์เป็นสิ่งที่ยาก แพทย์จำเป็นที่ต้องฝึกฝน เพื่อให้เกิดความชำนาญ
อีกทั้ง ต้องมีทักษะการจัดการภาวะแทรกซ้อนและการดูแลหลังการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว ดังนั้น การผ่าตัดในกระดูกสันหลังส่วนล่าง จึงมีลักษณะเฉพาะของโครงสร้างที่แตกต่างจากกระดูกสันหลังส่วนคอ การศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกายวิภาคของกระดูกสันหลังส่วนล่าง และการจัดการกับเนื้อเยื่อพังผืดหนาแน่น เพื่อลดความเสี่ยงในการผ่าตัด
3. PSCD (Percutaneous Stenoscopic Cervical Decompression) หรือ EPCF (Endoscopic Posterior Cervical Foraminotomy) เป็นเทคนิคการรักษาแผลเล็กที่ต้องการทักษะเฉพาะ เนื่องจากบริเวณคออยู่ใกล้กับไขสันหลังและโครงสร้างสำคัญอย่างเส้นประสาทและหลอดเลือด แพทย์จึงต้องมีความเข้าใจในกายวิภาคของกระดูกสันหลังส่วนคออย่างละเอียด ก่อนการรักษา แพทย์จะใช้ Fluoroscopy นำทางการสอดกล้องให้แม่นยำ จากนั้น ทำการรักษาผ่านจอมอนิเตอร์ที่แสดงภาพขยายภายในโพรงกระดูกสันหลัง ทำให้แพทย์สามารถใช้เครื่องมือพิเศษ เพื่อคีบและตัดเนื้อเยื่อที่กดทับเส้นประสาทได้อย่างปลอดภัยโดยไม่กระทบกับไขสันหลัง
การควบคุมภาวะแทรกซ้อน เช่น การตกเลือดและป้องกันการบาดเจ็บต่อเส้นประสาทจึงเป็นทักษะสำคัญที่แพทย์ต้องมีเพื่อให้การรักษาปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การรักษาด้วย PSCD ต้องการการฝึกฝนเพิ่มเติมในด้านกายวิภาคและเทคนิคเฉพาะของกระดูกสันหลังส่วนคอ แพทย์ที่มีประสบการณ์ทำ PSLD แล้ว จำเป็นต้องได้รับการอบรมเพิ่มเติมเกี่ยวกับการผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนคอ (PSCD)
- PSLD เทคนิครักษาโรคปวดหลังใหม่ล่าสุด แผลเล็ก เจ็บตัวน้อย เทคโนโลยีที่ทันสมัย และปลอดภัย
- หยุดทรมานจากโรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท ด้วยเทคนิค PSCD
4. Full Endo TLIF (Full Endoscopic Transforaminal Lumbar Interbody Fusion) เป็นเทคนิคการผ่าตัดเฉพาะทาง ที่แพทย์ต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญสูง การรักษาด้วย Full Endo TLIF ต้องการทักษะขั้นสูง โดยเฉพาะความเชี่ยวชาญในการเลือกและติดตั้งอุปกรณ์เชื่อมข้อ เช่น Interbody Cage และวัสดุปลูกกระดูก (Bone Graft) ซึ่งต้องเหมาะสมกับโครงสร้างกระดูกสันหลังของผู้ป่วย การติดตั้งอุปกรณ์เหล่านี้ต้องใช้ความแม่นยำสูงและควบคุมการเคลื่อนไหวในพื้นที่จำกัดโดยอาศัยกล้องเอ็นโดสโคปที่ให้ภาพขยายชัดเจนร่วมกับภาพนำทางจาก Fluoroscopy เพื่อวางอุปกรณ์ในตำแหน่งที่ปลอดภัย แพทย์ต้องมีทักษะในการควบคุมการใช้สกรูแบบนำวิถี (Percutaneous Screws) ที่ช่วยยึดกระดูกให้มั่นคง โดยไม่กระทบต่อเส้นประสาทและเนื้อเยื่อสำคัญ ซึ่งช่วยให้การผ่าตัดมีประสิทธิภาพและลดภาวะแทรกซ้อน
แพทย์ที่สามารถผ่าตัดแบบส่องกล้อง อาจมีพื้นฐานที่ช่วยในการทำ Full Endoscopic TLIF แต่ยังคงต้องมีการฝึกฝนและศึกษาเพิ่มเติม โดยเฉพาะด้านการวาง interbody cage และการใช้เครื่องมือเชื่อมข้อกระดูก
5. การผ่าตัด Endoscopic ACDF (Endoscopic Anterior Cervical Discectomy And Fusion) เป็นเทคนิคที่ซับซ้อน เนื่องจากเป็นการเข้าถึงจากด้านหน้าของคอ ซึ่งเต็มไปด้วยโครงสร้างสำคัญ ที่ต้องอาศัยความรู้เชิงลึกด้านกายวิภาคของกระดูกสันหลังส่วนคอ โดยเฉพาะโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน เช่น เส้นประสาท หลอดเลือด และอวัยวะสำคัญอื่น ๆ แพทย์ต้องมีทักษะในการควบคุมกล้องส่อง (endoscope) เพื่อให้มองเห็นและเข้าถึงพื้นที่จำกัดได้อย่างแม่นยำ พร้อมทั้งใช้ Fluoroscopy ช่วยนำทางระหว่างการติดตั้งอุปกรณ์เชื่อมข้อ เช่น Interbody Cage และ Bone Graft ซึ่งจะต้องวางในตำแหน่งที่ปลอดภัยโดยไม่กระทบต่อเนื้อเยื่อหรือเส้นประสาท แพทย์ต้องมีความสามารถในการเลือกใช้อุปกรณ์และจัดการภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น การตกเลือดและการบาดเจ็บของเส้นประสาท เพื่อให้การผ่าตัดสำเร็จและผู้ป่วยฟื้นตัวได้อย่างปลอดภัย
- รักษากระดูกสันหลังเคลื่อน ด้วยเทคนิค Full Endo TLIF ที่ S Spine
- แผลเล็ก – ฟื้นตัวเร็ว ผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอ ผ่านกล้องเอ็นโดสโคป (Endoscopic ACDF)
6. การฉีดซีเมนต์ (Bone Cement) เป็นวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกสันหลังหัก แตก หรือทรุด ซึ่งไม่ต้องการการผ่าตัด วิธีนี้ถือเป็นทางเลือกที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เฉพาะทางของแพทย์อย่างสูง เนื่องจากขั้นตอนการรักษาต้องมีการวางแผนที่แม่นยำและชัดเจน เพราะการฉีดซีเมนต์ต้องจบในครั้งเดียว ไม่สามารถแก้ไขได้ในห้องผ่าตัด จึงต้องใช้ความชำนาญเฉพาะด้าน เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย
เริ่มจากการใช้ Fluoroscopy เพื่อติดตามตำแหน่งของเข็มอย่างละเอียดในขณะนำทางเข้าสู่กระดูกที่มีรอยร้าว แพทย์ต้องฝึกการควบคุมการเจาะเข็มในพื้นที่จำกัด เพื่อให้สามารถสอดเข็มไปยังจุดที่ต้องการโดยไม่ทำอันตรายต่อเส้นประสาทและเนื้อเยื่อรอบข้าง
การควบคุมปริมาณและการกระจายตัวของซีเมนต์ที่ฉีดเข้าไปก็เป็นสิ่งสำคัญ ต้องให้พอเหมาะเพื่อเสริมความแข็งแรงของกระดูกโดยไม่รั่วไหล และสุดท้าย แพทย์ต้องมีทักษะในการจัดการภาวะแทรกซ้อน เช่น การรั่วของซีเมนต์ไปยังเส้นประสาทหรือหลอดเลือด เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพและปลอดภัยสูงสุด
ดังนั้น ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ที่ เอส สไปน์ เราให้ความสำคัญกับการรักษาที่ต้นเหตุ โดยเน้นให้แพทย์มีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีที่หลากหลาย ทั้ง PSLD (Percutaneous Stenoscopic Lumbar Decompression), PSCD (Percutaneous Stenoscopic Cervical Decompression) หรือ การรักษาด้วย Laser ซึ่งเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในประเทศไทย ที่นำเทคนิคนี้มารักษาผู้ป่วย
แต่หัวใจสำคัญ แพทย์ต้องประเมินและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด เพื่อประโยชน์ของผู้ป่วย ให้กลับไปใช้ชีวิตตามปกติ “เพราะรอยยิ้มของคุณ คือ รางวัลของเรา”