020340808

ไขข้อข้องใจปัญหาโรคกระดูกสันหลัง

20241001 disc herniation 02

ในปัจจุบันปัญหาโรคที่เกี่ยวกับกระดูกสันหลังเกิดขึ้นได้บ่อย วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจของผู้ป่วยหลายท่านที่มีปัญหาเกี่ยวอาการปวดคอ ปวดหลัง และอีกหลายประเด็นที่สำคัญในการรักษาโรคกระดูกสันหลัง ว่าจะต้องทำอย่างไร มาหาคำตอบจาก นพ.ฐปนัตว์ จันทราภาส แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเอส สไปน์ โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง

คำถาม: มีอาการปวดสะโพกด้านซ้าย ปวดแถวสลักเพชร ทำ MRI จะเห็นไหมคะ?

คำตอบ: “ตำแหน่งของสลักเพชรเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณสะโพกและก้นด้านล่าง (Piriformis) ซึ่งอาการปวดในบริเวณนี้อาจเกี่ยวข้องกับส่วนของกระดูกสันหลัง เช่น ข้อต่อ หรือหมอนรองกระดูกที่มีการอักเสบหรือเสื่อม รวมถึงกล้ามเนื้อสะโพกที่มีพังผืดหรืออักเสบ และโรคที่เกิดจากการเสื่อมของข้อสะโพกที่เชื่อมกับต้นขา โดยอาการปวดดังกล่าวอาจมีความเชื่อมโยงกับหลัง สะโพก และก้น

การตรวจร่างกายและการตรวจภาพด้วย MRI จะช่วยให้การวินิจฉัยแม่นยำขึ้น และเห็นรายละเอียดของกล้ามเนื้อหรือพังผืดชัดเจน ทำให้แพทย์สามารถแยกแยะได้ว่าผู้ป่วยมีอาการปวดจากเกิดจากกล้อมเนื้อสะโพกหนี หรือโรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท ทั้งนี้การวินิจฉัยที่ถูกต้องสามารถช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ตรงจุดและฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว

คำถาม: “คุณแม่มีอาการปวดสะบั้นเอวลงขา ทำกายภาพบำบัดแล้วไม่หาย จะรักษาอย่างไร?”

คำตอบ: อาการปวดเรื้อรังที่สะบั้นเอวและร้าวลงขาอาจเกิดจากหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท หรือโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ นอกจากนี้พฤติกรรมเสี่ยงอย่างเช่น การยกของหนัก หรือการนั่งท่าเดิมเป็นเวลานานก็เป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเสนประสาท หากมีอาการดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังเพื่อทำการตรวจเพิ่มเติมด้วย X-ray และ MRI กระดูกสันหลัง หากพบสาเหตุของโรค แพทย์จะรักษาตามความรุนแรงของรอยโรค

หากเป็นในระดับเริ่มแรก การกินยา กายภาพบำบัด การปรับพฤติกรรม หรือการฉีดยาสามารถรักษาได้ เมื่อไหร่ก็ตามที่รักษาตามวิธีการข้างต้นไม่หาย หรือมีอาการปวดที่รุนแรงมากกว่าเดิม การรักษาด้วยวิธีผ่าตัดเป็นอีกหนึ่งวิธีที่รักษาอาการปวดหลังเรื้อรัง ซึ่งการรักษาปัจจุบันไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เพราะที่โรงพยาบาลเอส สไปน์ ใช้วิธีการผ่าตัดแบบแผลเล็กด้วยกล้องเอ็นโดสโคป จึงทำให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก 0.5 เซนติเมตร เสียเลือดน้อย ฟื้นตัวไว ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล 1  คืนก็กลับบ้านได้

คำถาม: “มีอาการปวดต้นคอเจ็บบริเวณหลังลงไปที่แขน แนะนำการรักษาหน่อยครับ”

คำตอบ: อาการปวดต้นคอเจ็บบริเวณหลังลงไปที่แขน หากเป็นระยะเริ่มต้นสามารรักษาด้วยการกินยา กายภาพบำบัด หรือการฉีดยาเพื่อบรรเทาอาการปวด หากอาการข้างต้นเริ่มทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ การตรวจวินิจฉัยด้วย X-ray และ MRI จะช่วยให้แพทย์เห็นลักษณะของความผิดปกติของกระดูกคอ หมอนรองกระดูก ได้อย่างชัดเจน การวินิจฉัยที่ถูกต้องทำให้การรักษาได้ตรงจุด ซึ่งอาจเป็นการผ่าตัดเล็กหรือการรักษาแบบไม่ผ่าตัด ขึ้นอยู่กับรอบโรคของผู้ป่วย 

คำถาม: “หมอตรวจเอกซเรย์พบว่ามีกระดูกคอเสื่อม มีอาการคล้ายเหน็บชาที่หัวไหล่และต้นคอ มีแนวทางการรักษาอย่างไร?”

คำตอบ: กระดูกคอเสื่อมและการกดทับเส้นประสาทเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการชาที่หัวไหล่และต้นคอ ภาวะกระดูกคอเสื่อมเป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ แนวทางการรักษาหากเป็นระยะเริ่มต้น จะใช้วิธีการรักษาโดยการกินยา กายภาพบำบัด และการปรับพฤติกรรม หากอาการไม่ดีขึ้นหรือทวีความรุนแรงมากกว่าเดิม แพทย์จะพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัด โดยการผ่าตัดแพทย์จะดูผลของx-ray และMRI ดูว่ารอยโรคมีความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน

หากมีหมอนรองกระดูกเสื่อมและปูดนูน แพทย์จะพิจารณาโดยการจี้เลซอร์ แต่เมื่อใดก็ตามที่ผลการวินิจฉัยออกมาว่าหมอนรองกระดูกปลิ้นออกมาทับเส้นประสาทเยอะและมีการหน้าตัวของเส้นเอ็นในโพรงไขสันหลังทำให้เส้นประสาทถูกกดเบียน แพทย์จะการรักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล้องเอ็นโดสโคป เพื่อที่จะเอาส่วนที่กดทับเส้นประสาทออก ทำให้แผลผ่าตัดเล็กเพียงแค่ 0.5 ซม ปลอดภัย เสียเลือดน้อย แล้วก็ไม่ได้เปิดแผลใหญ่เหมือนการผ่าตัดแบบเปิดแผล ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวไว เวันรุ่งขึ้นก็สามารถกลับบ้านแล้วก็มีคุณภาพชีวิตที่ดี

อ้างอิงบทความโดย

นพ.ฐปนัตว์ จันทราภาส แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง

สอบถามข้อมูล

อาการปวดคอ
อาการปวดหลัง
MRI

รพ. เอส ไปน์

เราเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง

ปวดหลัง ปวดคอไม่หาย
ปรึกษาเราเลย!

020340808Line ID @s-spinehospital