หลังค่อม คอยื่น นี่ไม่ใช่เรื่องธรรมดา แต่มัน คือ ความผิดปกติของสรีระที่นับวันจะยิ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในโลกปัจจุบัน
หลังค่อม คอยื่น คือ สรีระผิดปกติที่พบได้ทุกเพศทุกวัย บางคนอาจหลังค่อม คอยื่น มาตั้งแต่กำเนิด บางรายอาจเริ่มมาพบปัญหา หลังค่อม คอยื่น ในช่วงวัยหนุ่มสาวหรืออาจมาพบปัญหาเมื่อถึงวัยชรา ในบางกรณีอาจร้ายแรงไปถึงเป็นโรคกระดูกสันหลังปลิ้นหรือโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน
สาเหตุของปัญหากระดูกสันหลัง
- พันธุกรรมหรือความผิดปกติแต่กำเนิด
- โรคทางระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อ
- ท่าทางที่ไม่ถูกต้องในชีวิตประจำวัน
- ความเสื่อมตามวัย
- สาเหตุที่ไม่ทราบแน่ชัด (Idiopathic)
อาการเบื้องต้นของกระดูกสันหลังคด
- ไหล่สองข้างไม่เท่ากัน
- แผ่นหลังหรือหน้าอกนูนไม่สมมาตร
- กระดูกสันหลังคดงอเห็นได้ชัด
- ลำตัวเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง
- สะโพกสองข้างไม่เท่ากัน
- มีปัญหาในการเดินหรือขาทั้งสองข้างไม่เท่ากัน
ปัญหาสุขภาพยุคดิจิทัล
- ออฟฟิศซินโดรม
- เท็กซ์เน็กซ์ซินโดรม (Text Neck Syndrome)
หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจนำไปสู่
- กระดูกสันหลังเสื่อมเร็วขึ้น
- ไหล่ห่อ หลังค่อม (Kyphosis)
- คอยื่น (Forward Head Posture)
ผลกระทบต่อสุขภาพ
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังและเอว
- หมอนรองกระดูกผิดปกติ
- กระดูกสันหลังเสื่อม คด หรือผิดรูป
- หมอนรองกระดูกปลิ้นหรือกดทับเส้นประสาท
- อาการปวด ชาร้าว และกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง
การตระหนักถึงปัญหาและการดูแลสุขภาพกระดูกสันหลังอย่างถูกวิธีเป็นสิ่งสำคัญในยุคปัจจุบัน หากพบอาการผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม
กลุ่มอาการคอเสื่อมจากการก้มคอ สาเหตุ การตรวจสอบ และการป้องกัน
ในปัจจุบัน ผู้ที่ชอบก้มหน้าใช้โทรศัพท์มือถือมีความเสี่ยงที่จะเกิดกลุ่มอาการคอเสื่อมจากการก้มคอ ทางการแพทย์เปิดเผยว่า การก้มศีรษะลงไปข้างหน้าเพียงเล็กน้อย ผิดจากท่าปกติตามธรรมชาติ (คือเมื่อหูอยู่ในแนวเดียวกับไหล่) จะทำให้น้ำหนักของศีรษะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้กล้ามเนื้อ เอ็น กระดูก และเส้นประสาทบริเวณไหล่และคอต้องรับภาระหนักเพิ่มขึ้น 2-6 เท่า
น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจากการถ่วงไปข้างหน้าจะดึงรั้งกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นทั้งหมด ทำให้เกิดอาการตึง หากทำซ้ำบ่อยครั้งอาจเกิดการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อ เอ็น และเส้นประสาทในบริเวณดังกล่าว
วิธีตรวจสอบความผิดปกติของสรีระด้วยตนเอง
สังเกตความสูงของระดับหัวไหล่ ความนูนของกระดูกสะบัก และระดับแนวกระดูกสะโพก โดยยืนให้เท้าชิดกันแล้วก้มไปด้านหน้า ใช้มือทั้งสองข้างแตะพื้น จะเห็นความนูนของหลังไม่เท่ากัน ยืนหันหลังพิงกำแพง โดยให้ส้นเท้าและหัวไหล่ชิดกำแพง หากท้ายทอยไม่สามารถชิดกำแพงได้ แสดงว่าสรีระเริ่มผิดปกติ มีอาการหลังค่อม คอยื่น
การป้องกันและรักษา
- รักษาการทรงท่าให้เหมาะสม โดยหมั่นสังเกตท่าทางของตนเองอย่างสม่ำเสมอ
- จัดโต๊ะทำงานให้ถูกหลักเพื่อป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม
- ปรับท่าทางในการใช้โทรศัพท์ในชีวิตประจำวัน
- ยืดกล้ามเนื้อและออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ และสะบัก
- หากสงสัยว่ามีปัญหาด้านกระดูกสันหลัง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
การปรับพฤติกรรมอย่างทันท่วงทีอาจช่วยป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงจนต้องผ่าตัด การรักษาท่าทางที่ถูกต้อง การออกกำลังกาย และการยืดกล้ามเนื้อจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการปวดบริเวณศีรษะ คอ บ่า และไหล่ได้อย่างยั่งยืน
ข้อมูลอ้างอิง:
Moore, K. L., Agur, A. M.R. and Dalley, A. F. 2011. Essential clinical anatomy. 4th ed. Lippincott Williams & Wolters Kluwer business, Philadelphia.