020340808

แผลเล็ก – ฟื้นตัวเร็ว ผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอ ผ่านกล้องเอ็นโดสโคป (Endoscopic ACDF)

ผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอ

ในปัจจุบันหลายคนเริ่มมีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากลักษณะการทำงานและการใช้ชีวิต ทำให้คนส่วนใหญ่ อาจจะละเลยการดูแลรักษาอาการปวดคอ จนนำไปสู่ อาการของโรคหมอนรองกระดูกคอกดทับเส้นประสาท ที่บางรายมีอาการปวดรุนแรง ถึงขั้นขยับคอไม่ได้

คนที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกคอกดทับเส้นประสาท อาการของโรคจะเริ่มจาก ปวดบริเวณคอ บ่า ไหล่ แบบเรื้อรัง หรือ ขยับคอลำบาก และ มีอาการปวดร้าว บริเวณแขน มือ  นิ้วมือ และ อาจมีอาการชาร่วมด้วย บางรายที่มีการกดทับเส้นประสาทอย่างรุนแรง จะเกิดอาการอ่อนแรง เช่น   การเดินลำบาก ก้าวขาได้ หรือ ไม่มั่นคง กำลังของมือและแขงลดลง

การรักษาโรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท มีอยู่หลายวิธีขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ที่ผู้ป่วยเป็น หากยังไม่ได้เป็นอาการรุนแรง สามารถบรรเทาอาการปวดด้วยวิธีการทำกายภาพบำบัด ร่วมกับการรับประทานยา หากมีอาการชา และแขนอ่อนแรง หรือบางรายที่มีอาการรุนแรงส่งผลต่อการทรงตัว ควรรีบเข้ารับการรักษาจากแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการดังกล่าวด้วยการทำ x-ray และ MRI เมื่อผลวินิจฉัยออกมาพบว่า หมอนรองกระดูกเสื่อมแพทย์จะพิจารณาอย่างเหมาะสม เช่น ถ้าหมอนรองกระดูกเคลื่อนออกมาไม่มาก จะทำการรักษาด้วยวิธีการจี้เลเซอร์ หรือผ่าตัดส่องกล้อง ในบางกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเรื้อรังมานานถึงขั้นหมอนรองกระดูกเสื่อมจนไม่สามารถใช้งานได้ การผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอ ที่เรียกว่า Endoscopic Anterior Cervical Discectomy And Fusion หรือ Endoscopic ACDF จึงเป็นทางเลือกที่ มีประสิทธิภาพสำหรับผู้ป่วย

ขั้นตอนการผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอจะต้องเปิดแผลบริเวนลำคอด้านหน้า แพทย์จะทำการแยกชั้นกล้ามเนื้อ และอวัยวะที่สำคัญทั้ง 5 ส่วน ได้แก่ หลอดลม หลอดอาหาร หลอดเลือดแดงใหญ่ หลอดเลือดดำใหญ่ และเส้นประสาท จากนั้น แพทย์จะนำหมอนรองกระดูกคอเสื่อม หรือ กดทับเส้นประสาทออก และนำเอาหมอนรองกระดูกเทียมใส่เข้าไปแทน เพื่อบรรเทาการกดทับเส้นประสาท และไขสันหลัง โดยส่วนใหญ่ยังใช้เทคนิคการผ่าตัดแบบเปิดแผลและเปลี่ยนหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอผ่านกล้องจุลศัลยกรรม หรือ ไมโคสโคป (Microscope) แผลจะมีขนาดประมาณ 5 เซนติเมตร

ปัจจุบันการรักษามีวิวัฒนาการความก้าวหน้าของเทคโนโลยีได้มีการพัฒนาเลนส์ ที่ช่วยในการมองเห็นให้ชัดเจนมากขึ้นโดยการนำระบบแสงนำวิถีเข้ามาช่วยทำให้มีกล้องชนิดใหม่ขึ้นมานั้นก็คือ กล้องเอ็นโดสโคป (Endoscope) จึงทำให้เกิดเทคนิคการรักษาโรคหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอทับเส้นประสาท Endoscopic Anterior Cervical Discectomy And Fusion (Endoscopic ACDF ) ทำให้แพทย์สามารถเห็นหมอนรองกระดูกสันหลังได้ชัดเจนมากขึ้น โดยที่ไม่ต้องเปิดแผลใหญ่เกินความจำเป็นเนื่องจากไม่มีการเชื่อมข้อกระดูกสันหลังส่วนคอ ทำให้ขนาดแผลลดลงเหลือเพียง 1-2 เซนติเมตร หรือขึ้นอยู่กับหมอนรองกระดูกเทียม 

การวิจัยจากประเทศเยอรมัน เผยถึงผลการรักษาทั้ง 2 วิธีนำมาเปรียบเทียบกันระหว่างการผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกคอจากทางด้านด้วยกล้องไมโคสโคป ใช้เวลาในการรักษาประมาณ 62 นาที และเกิดปัญหาบางอย่าง เช่น การสูญเสียความสูงของช่องระหว่างกระดูกสันหลัง, ปัญหาการเข้าถึงพื้นที่ผ่าตัดและการเสื่อมสภาพของช่วงข้างเคียงเนื่องจากการสูญเสียการเคลื่อนไหว ขณะที่การผ่าตัดที่ใช้กล้องเอ็นโดสโคปใช้เวลาในการผ่าตัดเฉลี่ยอยู่ที่ 32 นาที ยิ่งใช้เวลารักษาสั้นเท่าไหร่ ก็จะทำให้เกิดข้อแทรกซ้อนระหว่างทำการผ่าตัดลดลง เช่น  มีความปลอดภัย ,ความเสียหายของเนื้อเยื่ออ่อนบริเวณคอลดลง , ลดการติดเชื้อหลังการผ่าตัด ,เสียเลือดน้อย, ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว และใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นสั้นกว่าแบบเดิม

ตารางเปรียบเทียบการผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอ

อย่างไรก็ตามการรักษาโรคหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอทับเส้นประสาท Endoscopic Anterior Cervical Discectomy And Fusion (Endoscopic ACDF ) จำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือการรักษาที่ครบครันและทันสมัย ประกอบกับการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลังโดยเฉพาะ สำหรับโรงพยาบาลเอส สไปน์ ที่มีจุดแข็งที่เด่นชัด คือ การมีทีมแพทย์และพยาบาลที่รักษาโรคจากกระดูกสันหลังโดยเฉพาะ ประกอบกับการนำเอานวัตกรรมสมัยใหม่จากทั่วโลกเข้ามาช่วยในการรักษา ตอบโจทย์ผู้ป่วยที่มีเวลาน้อย ฟื้นตัวได้เร็ว ไม่ทรมานเหมาะกับผู้ป่วยที่กลัวการผ่าตัด

บทความอ้างอิงโดย :

  • Sebastian Ruetten, Martin Komp, Harry Merk, and Georgios Godolias : Int Orthop. 2009 Dec; 33(6): 1677–1682.; Full-endoscopic anterior decompression versus conventional anterior decompression and fusion in cervical disc herniations
  • นพ.วิศิษฐ์ แซ่ล้อ แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง

สอบถามข้อมูล

อาการปวดคอ
อาการปวดหลัง
MRI

รพ. เอส ไปน์

เราเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง

ปวดหลัง ปวดคอไม่หาย
ปรึกษาเราเลย!

020340808Line ID @s-spinehospital