โรคกระดูกพรุนอาจดูเหมือนเป็นปัญหาของผู้สูงอายุ แต่การป้องกันควรเริ่มตั้งแต่วัยหนุ่มสาว เพราะความแข็งแรงของกระดูกจะเริ่มเสื่อมถอยลงเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะในสตรีวัยหมดประจำเดือนที่มีการสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็ว
สถิติน่าตระหนัก:
- องค์การอนามัยโลกพบว่า ผู้หญิงทั่วโลกมีภาวะกระดูกพรุนเพิ่มขึ้นตามช่วงอายุ: 4% ในวัย 50-59 ปี, 8% ในวัย 60-69 ปี, 25% ในวัย 70-79 ปี และ 48% ในวัย 80 ปีขึ้นไป
- ในประเทศไทย ประชากรอายุ 40-59 ปี ประมาณ 13 ล้านคน มีความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนสูงขึ้น
• กระดูกสันหลังพรุน ภัยเงียบ ที่ไม่รู้ตัว
อาการของโรคกระดูกพรุน:
- ปวดหลัง
- กระดูกสันหลังยุบตัว
- หลังค่อม
- ตัวเตี้ยลง
- กระดูกแขนขาเปราะ หักง่ายแม้มีแรงกระแทกเพียงเล็กน้อย
ความสำคัญของแคลเซียม
แคลเซียมเป็นแร่ธาตุสำคัญสำหรับร่างกาย:
- 99% ใช้ในการสร้างกระดูก ฟัน และเล็บ
- 1% อยู่ในกระแสเลือด ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ
การขาดแคลเซียมอาจนำไปสู่ภาวะกระดูกพรุนและเปราะ ทำให้กระดูกแตกหักได้ง่าย
4 แหล่งแคลเซียมชั้นเยี่ยม
- นมและผลิตภัณฑ์นม
- นม 1 กล่อง (250 มิลลิลิตร) ให้แคลเซียม 300 มิลลิกรัม
- ปลาและสัตว์เล็กที่กินได้ทั้งกระดูก
- ปลาซิว ปลาเกล็ดขาว ปลาไส้ตัน ปลาซาร์ดีนกระป๋อง กุ้งฝอย กุ้งแห้ง 2 ช้อนโต๊ะให้แคลเซียมประมาณ 220 มิลลิกรัม
- ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์
- เต้าหู้แข็ง เต้าฮวย
- นมถั่วเหลือง 1 แก้ว (200 มิลลิลิตร) ให้แคลเซียม 200-300 มิลลิกรัม
- ผักใบเขียวเข้ม
- ผักโขม: 136 มิลลิกรัม. ต่อ 100 กรัม
- ผักคะน้า: 132 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม
- บรอกโคลี: 118 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม
- กระเจี๊ยบ: 77 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม
- ถั่วฝักยาว: 59 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม
การรับประทานอาหารที่อุดมด้วยแคลเซียมเป็นวิธีง่ายๆ ในการป้องกันโรคกระดูกพรุน เริ่มต้นดูแลสุขภาพกระดูกของคุณตั้งแต่วันนี้ เพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว
ปริมาณแคลเซียมที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย
การได้รับแคลเซียมในปริมาณที่เหมาะสมมีความสำคัญต่อสุขภาพกระดูกในทุกช่วงวัย ต่อไปนี้คือคำแนะนำปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับในแต่ละช่วงวัย:
- วัยทารก
- แรกเกิด – 6 เดือน: 400 มก.มิลลิกรัม/วัน
- 6 เดือน – 1 ปี: 600 มก.มิลลิกรัม/วัน ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก ฟัน เล็บ และสนับสนุนการเจริญเติบโตของร่างกาย
- วัยเด็ก
- อายุ 1 – 5 ปี: 800 มก.มิลลิกรัม/วัน
- อายุ 6 – 10 ปี: 800-1,200 มก.มิลลิกรัม/วัน สำคัญสำหรับการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วต่อเนื่องในช่วงวัยนี้
- วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่
- อายุ 11 – 55 ปี: 800-1,000 มก.มิลลิกรัม/วัน
ข้อควรรู้:
- ความหนาแน่นของกระดูกจะเพิ่มสูงสุด (Peak bone mass Bone Mass) ในช่วงอายุ 30-35 ปี
- 90% ของมวลกระดูกสะสมในช่วงก่อนวัยรุ่น
- ผู้ชายมี Peak bone massBone Mass สูงกว่าผู้หญิงประมาณ 15-20%
- หลังจากนั้น มวลกระดูกจะลดลงช้าๆ ประมาณ 0.5-1% ต่อปี
- ผู้ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป: 1,000-1,500 มก.มิลลิกรัม/วัน
ข้อควรระวัง:
- การร่างกายดูดซึมแคลเซียมลดลงและไม่มีการสะสมแคลเซียม
- ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนอาจสูญเสียมวลกระดูกถึง 3-6% ต่อปี
คำแนะนำสำหรับผู้ที่สงสัยว่ามีภาวะกระดูกพรุน: หากมีอาการปวดหลังและสงสัยว่ากระดูกสันหลังอาจยุบตัวจากภาวะกระดูกพรุน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย โดยอาจใช้การตรวจ X-ray ร่วมกับ MRI เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ
ท่านสามารถเข้ารับคำปรึกษาได้ที่ โรงพยาบาล เอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง
ข้อมูลอ้างอิง
นพ.ศรัณย์ จินดาหรา แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง