ประสบการณ์เจาะรูส่องกล้อง รักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท พนักงานรัฐวิสาหกิจ
คุณเมลดา พนักงานรัฐวิสาหกิจ สาววัย 48 ปี เข้ารับการรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทด้วยวิธีการผ่าตัดส่องกล้องแบบ PSLD (Percutaneous Stenoscopic Lumbar Decompression) โดยสาเหตุของอาการ เธอเล่าให้ฟังว่า เธอเกิดอุบัติเหตุลื่นล้มก้นกระแทกกับพื้น ตอนแรกก็ไม่รู้สึกอะไรและไม่ได้ใส่ใจอะไรมากนัก เพราะคิดว่าแค่ปวดกล้ามเนื้อธรรมดา จนเวลาผ่านไปความปวดนั้นยังคงอยู่ และอาการก็หนักขึ้นเรื่อยๆ ถึงขึ้นปลายเท้าชาจนไม่รู้สึก
• ปวดหลัง แต่ทำไมร้าวลงขา
• ผ่าตัดส่องกล้องรักษาโรคหมอนรองกระดูกตีบตัน ด้วยเทคนิค PSLD
• MRI แบบยืน ค้นหาสาเหตุของคนปวดหลัง
พยาบาล : ตอนที่แพทย์อ่านผล MRI ว่าเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทรู้สึกอย่างไร?
คุณเมลดา : ตอนนั้นคือตกใจมาก ไม่คิดว่าแค่ลื่นล้มจะทำให้หมอนรองกระดูกที่อยู่ด้านในแตกและปลิ้นออกมากดทับเส้นประสาท จนชาร้าวลงไปถึงปลายเท้า และใช้ชีวิตลำบากมาก ห่วงว่ายังไม่ทันแก่ ก็จะมีปัญหาเรื่องการเดินแล้ว
พยาบาล : แพทย์แนะนำให้ผ่าตัดรู้สึกอย่างไรบ้าง?
คุณเมลดา : กลัวค่ะ เพราะเราไม่รู้อะไรเกี่ยวกับไขสันหลังหรือกระดูกสันหลังเลย มันเป็นอะไรที่เปราะบางสำหรับเรามาก คิดไปต่างๆ นานาว่า…แผลจะต้องใหญ่ พักฟื้นนาน กลัวว่าจะกลับไปเดินไม่ได้ เพราะฝังใจกับเรื่องในอดีต
แต่บังเอิญเจอพี่ที่รู้จักกันเล่าให้ฟังว่า สมัยนี้มีการผ่าตัดแบบใหม่ ไม่น่ากลัวเหมือนเมื่อก่อน ประกอบกับแพทย์อธิบายอย่างละเอียด ทำให้มั่นใจมากขึ้นจึงตัดสินใจเข้ารับการรักษา
พยาบาล : ทำไมถึงเลือกมารักษาที่โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ?
คุณเมลดา : ด้วยความที่เป็นคนค่อนข้างละเอียด จึงคิดว่าถ้าจะผ่าตัด ก็ต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเอง จึงเข้าไปหาข้อมูลโรงพยาบาลที่ดีที่สุด ที่รักษาด้านกระดูกสันหลังฯเพิ่มในอินเทอร์เน็ต หนึ่งในนั้นมีโรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ ขึ้นมาอันดับ 1 จึงเข้าไปอ่านข้อมูลเพิ่มเติมทำให้ความมั่นใจเพิ่มมากขึ้น
จากนั้นก็เปรียบเทียบเรื่องค่ารักษาพยาบาลของแต่ละโรงพยาบาล พบว่าใกล้เคียงกันแต่ที่นี่โดดเด่นเรื่องเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย ด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง ซึ่งมีแผลเล็กขนาดเพียง 0.5 เซนติเมตรเท่านั้น และไม่จำเป็นต้องเปิดแผลขนาดใหญ่เหมือนในสมัยก่อน ทำให้ยิ่งมั่นใจว่า ถ้าจะผ่าตัดแบบนี้ ที่นี่ก็น่าจะรักษาหายได้เร็ว และกลับมาเดินได้ปกติเหมือนเดิม ที่นี่น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด
พยาบาล : ช่วงที่ออกจากห้องผ่าตัดแล้ววินาทีแรกรู้สึกอย่างไร?
คุณเมลดา : ความรู้สึกแรกที่ตื่นขึ้นหลังจากเข้ารับการรักษา คือ ลุกขึ้นมาได้เอง เดินเข้าห้องน้ำตามปกติเหมือนไม่ได้ผ่าตัด มันดีกว่าที่คิดไว้อีก ตอนแรกคิดว่าผ่าตัดเสร็จจะต้องเจ็บมาก แต่นี่ความเจ็บปวดของแผลผ่าตัดแทบจะไม่มีเลย
ขอบคุณการแบ่งปันประสบการณ์การรักษาที่ รพ. เอส สไปน์ โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง ของ คุณเมลดา และหวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านทุกท่านนะครับ