กลุ่มอาการ “ออฟฟิศซินโดรม” เป็นคำที่คุ้นหูมากขึ้นกว่าในอดีต หากเรามองย้อนกลับไป 5-6 ปีที่แล้ว เรื่องนี้อาจจะถูกมองว่าเป็นเรื่องใหม่ และไม่ค่อยมีคนกล่าวถึง แต่ในปัจจุบัน อาการออฟฟิศซินโดรมได้กลายเป็นโรคที่พบได้บ่อยในกลุ่มคนทำงานออฟฟิศอย่างน้อย 1 ใน 10 เลยทีเดียวอาการปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดคอ เป็นกลุ่มอาการของออฟฟิศซินโดรม แต่อาการปวดแบบไหนที่เป็นสัญญาณอันตรายอาจเสี่ยงเป็นโรค “หมอนรองกระดูกเสื่อมทับเส้นประสาท”
ออฟฟิศซินโดรมเสี่ยง “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” มีอาการอย่างไร?
1.ปวดบริเวณคอ หลัง อก เอว หลังช่วงล่าง หรือบริเวณไหล่ที่เชื่อมกับคอ โดยปวดแบบจิ๊ดๆ เหมือนไฟฟ้าช็อต หรืออาจจะปวดจนสะดุ้งเบาๆ
2.อาการปวดหลัง ปวดคอ จะเป็นๆ หายๆ มากกว่า 2 สัปดาห์เป็นต้นไป
3.มีอาการปวดทั่วแผ่นหลัง หรือปวดมากขึ้นบริเวณบั้นเอว หลังช่วงล่าง ยาวไปจนถึงขา
4.อาการปวดรบกวนการใช้ชีวิต ขยับร่างกายก็ปวด นอนก็ปวด
• อาการแบบไหนคือ “โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” (Herniated Nucleus Pulposus)
ปัจจัยเสี่ยงเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
1.อายุมากขึ้น เมือกใสๆ ในหมอนรองกระดูกก็เริ่มเสื่อมสภาพ
2.ยกของหนักมากเกินไป หรือยกของหนักด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้อง
3.การเล่นกีฬาที่มีการกระแทกซ้ำ
4.เคลื่อนไหวผิดท่าอย่างแรง/โดยฉับพลัน
5.น้ำหนักที่มากขึ้น จนเข้าสู่ภาวะโรคอ้วน ทำให้หมอนรองกระดูกต้องรับน้ำหนักมาก
6.นั่งทำงานอยู่ในท่าเดิมๆ อยู่เป็นเวลานาน ไม่ได้ขยับเขยื้อนร่างกาย
วิธีป้องกันหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
นอกจากจะต้องระมัดระวังในการขยับร่างกาย งดเว้นการยกของหนัก และปรับเปลี่ยนอิริยาบถระหว่างนั่งทำงานแล้ว การออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยยืดอายุของหมอนรองกระดูกให้ยังแข็งแรง ไม่เสื่อมได้ง่ายๆ อีกด้วย
หากสงสัยว่ากำลังมีอาการปวดที่เกิดจากออฟฟิศซินโดรม สาเหตุเกิดจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทควรรีบไปพบแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังและทำการตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรัง และความพิการตามมา
• ลดความเจ็บปวด ด้วยเทคโนโลยี “เลเซอร์”
ที่ รพ. เอส สไปน์ เราเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง เเห่งเดียวในประเทศไทย เรามีทีมแพทย์ผู้เชียวชาญด้านกระดูกสันหลัง ที่มากประสบการณ์ เป็นผู้นำการรักษาด้วยเทคโนโลยี โดยหลีกเลี่ยงการผ่าตัดมากที่สุดเพื่อผลการรักษาที่ดีที่สุด ด้วยเทคโนโลยีเลเซอร์จากต่างประเทศทำให้ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดอีกต่อไป