020340808

ปวดจากการนั่งนาน เสี่ยงเป็นโรคหมอนรองกระดูก   

20250220 ac sm th web 16x9 นั่งนาน

การนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานานโดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนทำงาน แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง เตือนว่า พฤติกรรมเหล่านี้อาจเร่งให้กระดูกสันหลังเสื่อมเร็วขึ้นถึง 3 เท่า และนำไปสู่โรคที่พบบ่อยในกลุ่มคนวัยทำงาน นั่นคือ “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท”

หมอนรองกระดูก เป็นเหมือนกันชนที่ช่วยรองรับแรงกระแทกระหว่างกระดูกสันหลัง ทำให้หลังสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างยืดหยุ่น แต่เมื่ออายุมากขึ้น หมอนรองกระดูกจะค่อยๆ เสื่อมสภาพ ยุบตัว และสูญเสียความยืดหยุ่น ซึ่งอาจทำให้เคลื่อนออกจากตำแหน่งและกดทับเส้นประสาท

แม้อายุที่เพิ่มขึ้นจะเป็นปัจจัยหนึ่งของการเสื่อมของหมอนรองกระดูก แต่พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนวัยทำงานกลับเป็นตัวเร่งให้เกิดปัญหานี้เร็วขึ้น โดยเฉพาะการ นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน การนั่งประชุมต่อเนื่อง หรือ การใช้โทรศัพท์มือถือในท่าเดิมซ้ำๆ หรือ แม้กระทั่งการยกของหนักผิดท่า ซึ่งล้วนทำให้กระดูกสันหลังรับภาระหนักขึ้นโดยไม่รู้ตัว  

ในระยะแรก หมอนรองกระดูกที่เสื่อมจะเริ่มยุบตัว หากปล่อยไว้นาน อาจเคลื่อนออกจากตำแหน่งและกดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการ ปวดร้าวลงขาหรือแขน หลายคนเข้าใจผิดว่าต้องปวดมากถึงจะเป็นอันตราย แต่ในความเป็นจริง แม้อาการปวดจะไม่รุนแรง แต่หากมีอาการร้าวลงขา อ่อนแรง หรือชา อาจเป็นสัญญาณของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษา อาจส่งผลให้เส้นประสาทถูกทำลายถาวร เสี่ยงต่อภาวะ อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือ สูญเสียการควบคุมระบบขับถ่าย

เปรียบเทียบง่ายๆ เส้นประสาทก็เหมือนต้นหญ้า หากถูกเหยียบเพียงชั่วครู่ ยังสามารถฟื้นตัวได้ แต่หากถูกกดทับซ้ำๆ เป็นเวลานาน ต้นหญ้าจะค่อยๆ เหลืองและแห้งตาย เช่นเดียวกับเส้นประสาทที่ถูกกดทับเป็นเวลานาน เซลล์ประสาทจะเสื่อมลงและไม่สามารถฟื้นตัวได้อีก

การดูแลและป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆ สามารถช่วยลดความเสี่ยงของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ เริ่มจากการหลีกเลี่ยงการนั่งต่อเนื่องเป็นเวลานาน ควรลุกขึ้นยืนหรือยืดเหยียดร่างกายทุก 30-60 นาที เพื่อลดแรงกดบนกระดูกสันหลัง นอกจากนี้ การเลือกใช้ เก้าอี้ที่รองรับสรีระ และปรับระดับให้เหมาะสม จะช่วยให้กระดูกสันหลังอยู่ในแนวที่ถูกต้อง ลดภาระของหมอนรองกระดูก

อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญคือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น ว่ายน้ำ โยคะ หรือ พิลาทิส ซึ่งช่วยเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังและแกนกลางลำตัว ทำให้กระดูกสันหลังมีความมั่นคงมากขึ้น ลดความเสี่ยงของการกดทับเส้นประสาทในระยะยาว

20250114 ac sm th web 9x16 bussiness+ 01


การวินิจฉัยและเทคโนโลยีการรักษาที่แม่นยำขึ้น

หากมีอาการปวดหลังเรื้อรัง การพบแพทย์เฉพาะทางและตรวจวินิจฉัยตั้งแต่เนิ่นๆ ช่วยให้รักษาได้ตรงจุด โดยแพทย์มักใช้ X-ray และ MRI ควบคู่กัน เพื่อระบุตำแหน่งที่หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท หากจำเป็นต้องผ่าตัด Minimally Invasive Surgery (MIS) หรือ การผ่าตัดแผลเล็ก เป็นทางเลือกที่ช่วยลดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อโดยรอบ โดยใช้กล้องเอ็นโดสโคปขนาดเท่าปลายปากกา ช่วยให้แพทย์เข้าถึงจุดที่ถูกกดทับได้อย่างแม่นยำ ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถกลับบ้านได้ภายใน 1 วันหลังผ่าตัด

20250114 ac sm th web 9x16 ข่าวpr 02


การดูแลและฟื้นฟูกระดูกสันหลัง

ตลอด 8 ปีที่ผ่านมา โรงพยาบาลเอส สไปน์ ได้รักษาผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังกว่า 100,000 ราย สะท้อนให้เห็นว่าปัญหาสุขภาพกระดูกสันหลังเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม จึงมุ่งพัฒนาศักยภาพการรักษา เพื่อยกระดับการดูแลและฟื้นฟูกระดูกสันหลัง ให้ครอบคลุมและทันสมัยมากที่สุด

สอบถามข้อมูล

อาการปวดคอ
อาการปวดหลัง
MRI

รพ. เอส ไปน์

เราเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง

ปวดหลัง ปวดคอไม่หาย
ปรึกษาเราเลย!

020340808Line ID @s-spinehospital