ประสบการณ์เจาะรูส่องกล้อง (PSLD) รักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โดย คุณพยอม
ประสบการณ์การรักษาของคุณพยอม ก่อนที่จะเข้ามารักษาที่โรงพยาบาล เอส สไปน์ เธอนั่งทำขนมในท่าเดิมนานๆ ติดต่อกันหลายชั่วโมงต่อวัน โดยไม่ได้ลุกไปไหน เมื่อลุกขึ้นยืนก็กลับมีอาการปวดและชาร้าวลงขา จากนั้นไม่นานก็เริ่มเดินขาลากเหมือนขาไม่มีแรง และใส่รองเท้าเองไม่ได้ เวลาจะเดินไปไหนก็ต้องเดินลากขาตลอดเวลา ถึงขั้นต้องใช้ไม้เท้าค้ำยันซึ่งลำบากมาก เมื่อลูกสาวเห็นอาการผิดปกติของคุณแม่จึงรีบพาไปพบแพทย์ใกล้บ้าน และได้ยามากิน เนื่องจากหมอบอกว่าเป็นแค่ “เส้นเอ็นและกล้ามเนื้ออักเสบ” เท่านั้น
• นั่งท่าไหน อันตรายต่อกระดูกสันหลัง
• หมอนรองกระดูกปลิ้นคือ?
• การผ่าตัดกระดูกสันหลัง เรื่องใกล้ตัว ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด
เมื่ออาการไม่ดีขึ้นจึงพาคุณแม่ไปโรงพยาบาลอีกแห่งหนึ่ง ครั้งนี้แพทย์ให้ X-ray จึงได้รู้ว่าคุณแม่เป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โดยหมอให้ยามาทานอีก 1 เดือนและบอกอีกว่า “หากอาการไม่ดีขึ้นต้องผ่าตัดนะ” ในครั้งนั้นทำให้เธอและคุณแม่รู้สึกตกใจมาก แต่ก็ยังไม่ได้ตัดสินใจที่จะผ่าตัดทันที และได้ลองทานยาก่อน ซึ่งอาการปวดก็ดีขึ้นเพียงเล็กน้อย
ลูกสาวของคุณพยอมเล่าว่า ช่วงที่คุณแม่ทานยาอยู่นั้น ก็รู้สึกสงสารที่เห็นแม่ต้องทุกข์ทรมานกับอาการปวด จึงเริ่มหาข้อมูลการรักษาที่ดีที่สุดให้กับคุณแม่ เพราะไม่อยากเห็นคุณแม่ต้องทนปวดแบบนี้ ในระหว่างที่เธอเล่นเฟซบุ๊กเหมือนทุกครั้ง ก็เลื่อนไปเจอเพื่อนที่แชร์การรักษาโรคหมอนรองกระดูกว่า “ที่นี่ (โรงพยาบาลเอส สไปน์ ) รักษาโรคหมอนรองกระดูกด้วยเลเซอร์” จากความรู้สึกที่เคยมืดมิดกลับมีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์อีกครั้ง ทำให้เธอมีหวังที่จะทำให้คุณแม่หายจากความทรมานเสียที
โดยคลิปที่เธอดูนั้นเป็นเรื่องราวของผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษา ซึ่งหลายคนก็มีลักษณะอาการคล้ายกับคุณแม่ของเธอ จึงได้โทรศัพท์เข้ามาสอบถามที่โรงพยาบาลเอส สไปน์ เพื่อทำนัดพบแพทย์ แต่พอใกล้วันตรวจ เธอกลับพบว่าบริเวณคอของคุณแม่มีอาการแปลกๆ ลักษณะคล้ายคนนอนตกหมอน นวดเท่าไหร่อาการก็ไม่ดีขึ้น ซ้ำร้ายอาการกลับแย่ลงเรื่อยๆ ในใจก็คิดว่าเมื่อไหร่จะถึงวันนัดพบแพทย์เสียที
เมื่อวันนัดพบแพทย์มาถึง คุณพยอมและลูกสาว ได้เล่าอาการปวดบริเวณขาและคอให้แพทย์ฟังอย่างละเอียด ซึ่งแพทย์ได้ทำการตรวจร่างกายและส่งไปทำ x-ray อีกครั้ง โดยครั้งนี้แพทย์สั่งตรวจ MRI เพิ่มเติมอีก 2 ส่วน ลูกสาวคุณพยอมยังเล่าต่ออีกว่า “ทีแรกนึกว่าคุณแม่ปวดแค่ขาอย่างเดียว ผลการตรวจออกมาพบว่า มีพังผืดเกาะอยู่ที่บริเวณคอด้วย หากปล่อยทิ้งไว้คงจะไม่ดีแน่ จึงถามคุณหมอว่าหากจะรักษาต้องทำส่วนไหนบ้าง” คุณหมอตอบคำถามชัดเจนและครบถ้วน จึงปรึกษากับคุณแม่และ “ตกลงเราทำที่นี่ดีกว่า เพราะเป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็ก จึงไม่ได้คิดไปหาที่อื่นเพิ่มเติม”
•ผ่าตัดส่องกล้องรักษาโรคหมอนรองกระดูกตีบตัน ด้วยเทคนิค PSLD
•ลดความเจ็บปวด ด้วยเทคโนโลยี “เลเซอร์”
หลังจากการผ่าตัดของคุณพยอม อาการปวดที่เป็นมาอย่างยาวนานหายไปเลย และเผลอลุกเข้าห้องน้ำแบบไม่รู้ตัว ลูกสาวที่นอนเฝ้าจึงรู้สึกตกใจ “อ้าวว!! เเม่เดินได้เเล้วเหรอ” โดยบอกกับเจ้าหน้าที่ว่ารู้สึกดีใจที่คุณแม่หายจากความเจ็บปวดนี้ ไม่ต้องทุกข์ทรมานอีกแล้ว
ซึ่งคุณพยอมก็รู้สึกดีใจ บอกว่า “ได้ชีวิตเดิมกลับคืนมา ตอนนี้สบาย ไม่ชา ไม่เจ็บแล้ว ตรงคอและไหล่ก็ไม่ปวดแล้ว หายเป็นปกติเพียงชั่วข้ามคืน”
ซึ่งเจ้าหน้าที่สอบถามว่าราคากับการรักษาเป็นอย่างไร ลูกสาวคุณพยอมกล่าวด้วยแววตาแห่งความสุขและดีใจที่เห็นคุณแม่หายจากความทรมานในครั้งนี้ “ราคาและการรักษาที่ให้แม่หายปวดแบบนี้ รู้สึกคุ้มค่าที่แม่สามารถกลับมาเดินได้เหมือนเดิม ถ้าเกิดว่าเราไปรักษาแบบเดิม ราคาอาจจะถูกกว่า หรือใกล้เคียงกัน แต่ผลการรักษาอาจต้องพักฟื้น 1 เดือนที่โรงพยาบาล กลับบ้านไปอีก 5-6 เดือน ทำกายภาพทุกเดือน แต่ที่นี่เพียงชั่วข้ามคืนก็สามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติได้แล้ว”
โรงพยาบาลเอส สไปน์ มีความยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ครอบครัวของคุณพยอม พ้นทุกข์จากความเจ็บปวด และคืนความสุขให้กับคนที่รัก ขอบพระคุณสำหรับการแบ่งปันประสบการณ์ในครั้งนี้