ท่ามกลางหมอกควันที่ส่งผลกระทบกับร่างกายของเราในทุกวันนี้ จนเป็นภัยร้ายใกล้ตัวเราและกำลังหนักข้อขึ้นทุกวัน ซ้ำร้ายยังสามารถเข้าสู่จมูก ปอด และหลอดเลือดได้โดยตรง และ ฝุ่น PM 2.5 กำลังคุกคามหลายพื้นที่ในเมืองไทย ฝุ่นละอองขนาดจิ๋วที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 2.5 ไมโครเมตร หากนึกไม่ออกว่า เล็กขนาดไหน คงต้องบอกว่า “เล็กกว่าเส้นผมของคนเรา” และมองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่าจากสถิติปีก่อน ค่าฝุ่นพิษอยู่ที่ 179 ปีนี้ พุ่งขึ้นมาเป็น 191 สะท้อนสถานการณ์ที่ย่ำแย่ลงเรื่อยๆ และกำลังจะเข้าสู่ภาวะวิกฤตขั้นสุด
“กรุงเทพฯ” เมืองหลวง ที่มีคุณภาพอากาศแย่ที่สุดติดอันดับ 2 ของโลก จากข้อมูลของแอปพลิเคชั่น “Air Visual” ระบุไว้ว่า ค่ามลพิษทางอากาศของกรุงเทพฯ อยู่ที่ 179 AQI (Air Quality Index) ซึ่งถือเป็นค่าความสูง “ระดับที่ 4” หรือ “ระดับไม่ดีต่อสุขภาพ” จากทั้งหมด 6 ระดับ
รู้….หรือไม่สนใจป้องกัน?
ยังเป็นคำถามที่ลอยอยู่ในอากาศ เพราะในช่วงต้นปีที่ผ่านมา เชียงใหม่ก็ติดอันดับ “คุณภาพอากาศยอดแย่ของโลก” อีกครั้ง คือ อยู่ที่ อันดับ 4 ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยยังมีสภาพอากาศแย่อยู่ โดยปีนี้ ระดับคุณภาพอากาศสูงสุดอยู่ที่ 191 AQI
ตัวเลขดังกล่าว ถือได้ว่าแทบจะทะลุปรอทของระดับความสูงระดับ 4 ไปสู่ระดับ 5 (201 – 300 AQI) ซึ่งถือเป็นระดับ “ไม่ดีต่อสุขภาพมาก” แต่ยังไม่ถึงระดับ 6 (300 – 500 AQI) หรือระดับอันตราย ตามข้อมูลการวัดคุณภาพทางอากาศ
ชี้ให้เห็นปัญหาสภาพอากาศสุดย่ำแย่ของเมืองไทย ซึ่งปีนี้แย่ลงยิ่งกว่าเดิมอีก แต่แทนที่ประชาชนจะตื่นตัวกับเรื่องนี้ด้วยการสวมหน้ากาก กลายเป็นว่ากลับเพิกเฉย ไม่ค่อยสนใจป้องกันตัวเองเหมือนปีที่ผ่านมา สะท้อนว่าประชาชนอาจเริ่มชินชากับการใช้ชีวิตร่วมกับฝุ่นแล้ว สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดฝุ่นพิษในกรุงเทพฯ นั้น อาจารย์สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้วิเคราะห์ผ่าน เฟซบุ๊ก “Sonthi Kotchawat” เอาไว้ว่า น่าจะเกิดจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนถ่าย จากฤดูหนาวสู่ฤดูร้อน ซึ่งก็คือช่วง ม.ค. – มี.ค.ของทุกปี ซึ่งมลพิษทางอากาศจะไม่ลอยตัว และลมจะค่อนข้างสงบ ส่งให้ฝุ่น PM 2.5 กลายเป็นปัญหาที่ฟุ้งขึ้นมาอีก
ฝุ่น PM 2.5 ในกรุงเทพฯ มีปริมาณสูงมาจากแหล่งกำเนิดที่สำคัญคือ จำนวนรถยนต์ประมาณ 10.3 ล้านคัน โดยเป็นรถเครื่องยนต์ดีเซลถึง 2.7 ล้านคัน ที่วิ่งและติดขัดอยู่บนถนนเกือบตลอดทั้งวัน จึงปล่อยมลพิษทางอากาศออกมามาก
ประกอบกับมีการก่อสร้างรถไฟฟ้า ถึง 6 โครงการบนถนน 10 เส้นทางหลัก ยิ่งทำให้การจราจรติดหนักมากยิ่งขึ้น
ฝุ่น PM 2.5 ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ ก่อให้เกิดโรคที่เกิดจากฝุ่นละออง เช่น
• โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง
• โรคภูมิแพ้
• โรคหอบหืด
• โรคถุงลมโป่งพอง
ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราควรตระหนักและหันมาใส่ใจดูแลตัวเองและคนรอบข้าง
วิธีรับมือ “ฝุ่นพิษ PM 2.5” ที่คุณต้องรู้
1. สวมหน้ากากป้องกันฝุ่น PM 2.5
“อย่าอาย” การสวมใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นเพราะหน้ากากเหล่านี้ช่วยเราได้มาก โดยเฉพาะหน้ากากอนามัยชนิด N95 ที่ช่วยดูแลว่าป้องกันมลพิษได้ หรือถ้าหาหน้ากาก N95 ไม่ได้ หรือมีงบน้อย จะใช้หน้ากากอนามัยสวมด้วยกระดาษทิชชู่ก็ได้
2. นอนหลับให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
การนอนหลับช่วยให้ร่างกายของเราแข็งแรง พร้อมสู้ทุกสถานการณ์
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และอาหารเสริมอย่าง วิตามินซี แล ะวิตามินอี ร่วมด้วย
3.ออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมนอกอาคาร
เลี่ยงการออกกลางแจ้งเพื่อความปลอดภัยจากฝุ่น PM 2.5 ถึงจะสวมหน้ากากวิ่งหรือออกกำลังก็ไม่ควร เพราะจะทำให้หายใจลำบากและมีอันตรายต่อร่างกายอย่างแรง
4 . ติดตามข่าวสารฝุ่น PM 2.5 อย่างใกล้ชิด
ควรติดตามข่าวสารเป็นประจำตามเว็บไซต์ข่าว และใช้แอปพลิเคชัน เช็คมลพิษทางอากาศให้เป็นประโยชน? เช่น
• AirVisual Air Quality Forecast (ดาวน์โหลด Andriod, iOS)
• Air4Thai (ดาวน์โหลด Andriod, iOS)
• Plume Air Report App (ดาวน์โหลด Andriod, iOS)
5. หากเกิดความผิดปกติกับร่างกาย ควรพบแพทย์
ถ้าเกิดอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ ไอ มีเสมหะ หายใจติดขัด หายใจไม่อิ่ม แน่นๆ หน้าอก ปวดหน้าอก หรือเกิดผื่นขึ้นตามร่างกาย ควรเดินทางไปพบแพทย์เพื่อรักษาอาการโดยด่วน
ด้วยความปรารถนาดีจาก รพ.เอส สไปน์ แอนด์เนิร์ฟ
ที่มา : mgronline.com/live/detail/9630000004773
komchadluek.net/news/regional/391063
frank.co.th/blog/ไลฟ์สไตล์/วิธีรับมือฝุ่นพิษ