“แค่ปรับชีวิตก็เปลี่ยน” ไม่ใช่เพียงวลีลอยๆ แต่เป็นคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดคอ บ่า และไหล่ การปรับพฤติกรรมเพียงเล็กน้อยสามารถส่งผลดีต่อสุขภาพอย่างมาก
ในยุคสังคมก้มหน้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน แต่การใช้งานที่ไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Text Neck Syndrome และโรคกระดูกคอเสื่อม
จากสถิติของโรงพยาบาล เอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ พบว่าตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน ผู้ป่วยเข้ามาทำการรักษาโรคกระดูกคอเสื่อมเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน สาเหตุหลักมาจากการทำงานในท่าเดิมเป็นเวลานานและการก้มเล่นโทรศัพท์มือถือ
อาการของโรคกระดูกคอเสื่อมมักเริ่มจากอาการปวดคอ ซึ่งอาจเกิดจากหมอนรองกระดูกคอบวมหรือกระดูกคอทรุด ทำให้เส้นประสาทถูกกดทับ บางรายอาจมีอาการปวด ชา ร้าวลงไปถึงบ่า ไหล่ แขน และมือร่วมด้วย
• ยิ่งก้ม ยิ่งเสี่ยงปวดคอเรื้อรัง (Text Neck Syndrome)
วิธีป้องกัน Text Neck Syndrome
1.ปรับท่านั่งเล่นมือถือ:
- ใช้เก้าอี้ที่มีที่วางแขน
- พยายามให้คออยู่ในแนวตรง ไม่ก้มคอหรือก้มหลัง
- นั่งหลังตรง และใช้พนักพิงหลังหรือศีรษะเพื่อลดแรงกระทำ
- งอแขนและศอกให้มือถืออยู่ในระดับสายตา
- ใช้หมอนรองแขนเพื่อลดการทำงานของกล้ามเนื้อ
อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กล้ามเนื้อบ่าและแขนทำงานหนักคือการที่ใส่เคสโทรศัพท์มือถือที่หนักจนเกินไปก็จะส่งผลให้กล้ามเนื้อทำงานหนักมากขึ้นและมีอาการปวดได้ง่ายขึ้น แนะนำให้ใส่เคสโทรศัพท์ที่มีน้ำหนักเบาก็จะช่วยลดการเกิดอาการปวดได้เช่นกัน
2.ปรับท่านอนเล่นมือถือ:
- ใช้หมอนหนุนใต้ศีรษะ
- หากนอนบนพื้น ใช้หมอนหนาๆ รองใต้ลำตัวส่วนบนและศีรษะ
- ใช้หมอนรองมือให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับสายตา
• หยุดทรมานจากโรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท ด้วยเทคนิค PSCD
• ลดความเจ็บปวด ด้วยเทคโนโลยี “เลเซอร์”
หากมีอาการปวดเกิดขึ้น สามารถรักษาเบื้องต้นด้วยการกายภาพบำบัด เช่น การคลายกล้ามเนื้อ การยืดกล้ามเนื้อ และการสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ การใช้ยาเพื่อลดการอักเสบและคลายกล้ามเนื้อก็สามารถช่วยบรรเทาอาการได้
สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงจนถึงขั้นกระดูกคอเสื่อม ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังโดยเร็ว เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันปัญหาสุขภาพในระยะยาว การใส่ใจดูแลสุขภาพตั้งแต่วันนี้จะช่วยให้คุณมีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต