020340808

ส่องกล้องเหมือนกัน แต่ใช้กล้องไม่เหมือนกัน

ผ่าตัดส่องกล้องกระดูกสันหลัง

การผ่าตัดโรคที่เกี่ยวกับกระดูกสันหลังในอดีตมักมีการผ่าตัดเปิดแผลด้านหลังใกล้กับจุดที่ทำการรักษา เนื่องจากการมองเข้าไปในจุดที่ทำการรักษามีขีดจำกัด จำเป็นต้องเปิดแผลกว้างเพื่อช่วยในการมองเห็น จึงทำให้พื้นที่ที่ไม่เกี่ยวข้องในการรักษาต้องบอบช้ำและเป็นที่มาของการพักฟื้นนาน รวมถึงความเสี่ยงในการติดเชื้อ

การนำกล้องมาใช้ในการผ่าตัดทำให้การเปิดแผลลดขนาดลง เพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็นจุดที่จะรักษา ซึ่งต้องใช้ความเชี่ยวชาญและชำนาญของศัลยแพทย์มากขึ้น

ประเภทของการผ่าตัดส่องกล้อง

การผ่าตัดส่องกล้องหรือการผ่าตัดผ่านกล้องมีหลายชนิด หลายแบบ ซึ่งมีรายละเอียดของเครื่องมือและความเชี่ยวชาญของแพทย์ที่แตกต่างกันออกไป มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

  1. Microscope (กล้องจุลทรรศน์)
    กล้องจุลทรรศน์มีอัตรากำลังขยายภาพในจุดที่ทำการผ่าตัด 20-100 เท่า การมองยังคงผ่านกล้องจากภายนอก ทำให้ศัลยแพทย์สามารถมองเห็นรายละเอียดพยาธิสภาพได้ชัดเจนขึ้น แผลผ่าตัดจึงมีขนาดเล็กลงเหลือ 3-5 เซนติเมตร ปลอดภัยมากขึ้น

    ขั้นตอนการผ่าตัดยังคงเป็นวิธีการเดิมทั้งหมด คือเปิดแผล เลาะกล้ามเนื้อ หรืออาจจำเป็นต้องตัดชิ้นส่วนกระดูกสันหลังบางส่วนออก ผู้ป่วยจำเป็นต้องพักอยู่ที่โรงพยาบาลประมาณ 3-4 วัน


  2. Micro-endoscope
    การผ่าตัดส่องกล้องด้วยวิธีนี้พัฒนาเพื่อลดความบอบช้ำของผู้ป่วย เปิดแผลลดลงเหลือ 2 เซนติเมตร นำท่อเจาะลงไปใกล้จุดที่ทำการรักษาและมองผ่านกล้องจุลทรรศน์ ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพดีขึ้นและการเลาะกล้ามเนื้อหลังลดลง ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น


  3. Endoscope
    กล้องเอ็นโดสโคปมีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตร ภายในมีระบบนำแสงพิเศษเพื่อช่วยในการมองเห็น และมีช่องสอดเครื่องมือ เช่น เลเซอร์

    หรืออุปกรณ์รักษาอื่นๆ กล้องถูกมองเห็นจากปลายอุปกรณ์ ทำให้การเปิดแผลเล็กมาก ความบอบช้ำและอัตราการเสี่ยงติดเชื้อลดลง ผู้ป่วยฟื้นตัวหลังผ่าตัดเร็วและสามารถกลับบ้านได้ภายใน 24 ชั่วโมง

infographic ตารางเปรียบเทียบการผ่าตัดแบบ microscope กับ endoscope

กล้องเอ็นโดสโคปที่ใช้ในปัจจุบัน

  • PELD (Percutaneous Endoscopic Lumbar Discectomy): ใช้ในการรักษาผู้ป่วยในปัจจุบัน การรักษาจำเป็นต้องใช้แพทย์ที่มีประสบการณ์และความคุ้นเคยกับการใช้เครื่องมือสูงเพื่อให้ผลการรักษาดีและมีผลแทรกซ้อนน้อย
  • PSLD (Percutaneous Stenoscopic Lumbar Decompression): ยังไม่แพร่หลายในประเทศไทย เนื่องจากขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือนี้

การรักษาที่ดีที่สุดคือการดูแลตัวเองให้ห่างจากโรคภัย

แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ การรักษาโรคที่ต้นเหตุและได้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการวินิจฉัยที่ดีมีประโยชน์กับผู้ที่ได้รับการรักษาเป็นอย่างมาก การศึกษาข้อมูลที่ดีจะสามารถช่วยในการตัดสินใจเข้ารับการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้วยความปรารถนาดีจาก โรงพยาบาลเอส สไปน์ โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง

สอบถามข้อมูล

อาการปวดคอ
อาการปวดหลัง
MRI

รพ. เอส ไปน์

เราเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง

ปวดหลัง ปวดคอไม่หาย
ปรึกษาเราเลย!

020340808Line ID @s-spinehospital