020340808

การผ่าตัดส่องกล้อง Endoscope รักษากระดูกสันหลังแผลเดียวรูเดียว

ผ่าตัดส่องกล้อง Endoscope รักษากระดูกสันหลัง แผลเดียว รูเดียว

การผ่าตัดส่องกล้อง Endoscope ในการรักษาโรคกระดูกสันหลังนั้น มีหลากหลายเทคนิคที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจยังไม่เข้าใจในเครื่องมือและวิธีการรักษาที่เหมาะสม เนื่องจากกล้อง Endoscope แต่ละประเภทถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในกรณีที่แตกต่างกัน ดังนั้น ในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจถึงวิธีการผ่าตัดส่องกล้องในตำแหน่งของหมอนรองกระดูกปลิ้นที่แตกต่างกัน โดยเทคนิคต่างๆ เหล่านี้สามารถช่วยรักษาโรคกระดูกสันหลังได้อย่างไร

โดยส่วนใหญ่ตำแหน่งที่หมอนรองกระดูกปลิ้นหรือแตก มักจะมีอยู่ 4 จุด ดังนี้

1.Central Herniation (หมอนรองกระดูกปลิ้นตรงกลาง):

  • หมอนรองกระดูกปลิ้นออกมาในตำแหน่งตรงกลางของกระดูกสันหลัง ส่งผลให้เกิดการกดทับเส้นประสาทในช่องไขสันหลัง โดยเฉพาะในส่วนที่อยู่ด้านหลังของไขสันหลัง
  • มักทำให้เกิดอาการปวดหลังร้าวลงขาทั้งสองข้าง (bilateral sciatica) และอาจมีอาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่อยู่หากกดทับเส้นประสาทส่วนล่างมาก​

2.Paracentral Herniation (หมอนรองกระดูกปลิ้นใกล้กลาง):

  • หมอนรองกระดูกปลิ้นออกมาในตำแหน่งใกล้กลาง (ด้านข้างเล็กน้อย) กดทับเส้นประสาทในโพรงกระดูกสันหลังที่อยู่ใกล้เคียง
  • ตำแหน่งนี้เป็นประเภทที่พบได้บ่อย และมักจะทำให้เกิดอาการปวดหลังร้าวลงขาด้านหนึ่ง (sciatica)​

3.Foraminal or Lateral Herniation (หมอนรองกระดูกปลิ้นด้านข้าง):

  • หมอนรองกระดูกปลิ้นไปทางด้านข้างของโพรงกระดูกสันหลัง และกดทับเส้นประสาทที่ออกมาจากไขสันหลังในบริเวณช่องโพรงประสาท (foramen)
  • ตำแหน่งนี้ก็เป็นอีกหนึ่งตำแหน่งที่มักพบได้บ่อย และมักทำให้เกิดอาการปวดและชาบริเวณขาหรือสะโพกด้านเดียว หากหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทด้านข้าง​

4.Extraforaminal Herniation (หมอนรองกระดูกปลิ้นนอกโพรงประสาท):

  • หมอนรองกระดูกปลิ้นออกนอกโพรงประสาทมากกว่าปกติ ซึ่งจะทำให้กดทับเส้นประสาทที่อยู่ภายนอกโพรงประสาท
  • ตำแหน่งนี้พบได้บ่อยในระดับ L3-L4 หรือ L4-L5 และก่อให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรงในบริเวณขาหรือสะโพก



4 ตำแหน่ง ของหมอนรองกระดูกปลิ้นหรือแตก



โดยส่วนใหญ่ที่โรงพยาบาล เอส สไปน์ มักพบผู้ป่วยหมอนรองกระดูกปลิ้นหรือแตกในตำแหน่งที่ ใกล้กับกลางและด้านข้างกระดูกสันหลัง มากกว่าที่จะเกิดในด้านนอกโพรงประสาท เนื่องจากโครงสร้างของหมอนรองกระดูกที่บางลงในส่วนด้านหลังตรงกลาง แรงกดทับจากการรับน้ำหนักในแนวดิ่ง และตำแหน่งของเส้นประสาทในไขสันหลัง



การผ่าตัดโรคกระดูกสันหลังด้วยกล้อง Endoscope แบบ PELD และ PSLD มีวิธีการและประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.การผ่าตัดส่องกล้อง PELD (Percutaneous Endoscopic Lumbar Discectomy)
เหมาะสำหรับการรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทในกรณีที่ไม่ซับซ้อน กล่าวคือ หมอนรองกระดูกที่ปลิ้นหรือแตก และกดทับเส้นประสาทบริเวณด้านนอกของกระดูกสันหลัง 

โดยแพทย์จะทำการเจาะเข้าทางด้านข้างผ่านช่องโพรงประสาท (Transforaminal approach หรือ Extraforaminal approach) เพื่อเอาหมอนรองกระดูกที่กดทับเส้นประสาทออก 

เทคนิคนี้มีข้อจำกัด คือ ไม่สามารถใช้ได้ในกรณีที่อาการของผู้ป่วยมีความซับซ้อนมาก เนื่องจากการเจาะเข้าด้านข้าง ไม่สามารถเข้าถึงหมอนรองกระดูกที่ปลิ้นหรือแตกตรงกลางหรือใกล้กลางโพรงประสาท และไม่สามารถเห็นเส้นประสาทหรือไขสันหลังที่หมอนรองกระดูกกดทับได้ 

2.การผ่าตัดส่องกล้อง PSLD (Percutaneous Stenoscopic Lumbar Decompression)
เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่ใช้ในการรักษาโรคกระดูกสันหลังตีบแคบและการกดทับเส้นประสาทในตำแหน่งที่ลึกและซับซ้อน กล่าวคือ รักษาหมอนรองกระดูกที่ปลิ้นหรือแตกอยู่ในบริเวณส่วนกลาง ใกล้กลาง และด้านข้างของกระดูกสันหลัง และกดทับเส้นประสาท 

โดยแพทย์จะทำการเจาะเข้าทางด้านหลังของกระดูกสันหลัง ผ่านโพรงประสาท (Interlaminar approach) เพื่อทำการเปิดช่องโพรงประสาทที่แคบให้กว้างขึ้น ซึ่งทำให้สามารถเข้าถึงบริเวณที่ต้องการรักษาได้อย่างแม่นยำ โดยวิธีนี้จะทำให้เห็นการกดทับของหมอนรองกระดูกที่เส้นประสาทได้อย่างชัดเจน


กล้อง Endoscope
กล้อง Endoscope




แต่ข้อสำคัญ คือ เทคนิค PSLD ต้องใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางอย่างมาก เนื่องจากตำแหน่งที่ทำการผ่าตัดนั้นซับซ้อน เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพจะต้องมีทีมผู้ช่วยที่มีความชำนาญ จะช่วยลดระยะเวลาในการผ่าตัด และเครื่องมือพิเศษที่ทันสมัยเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด


ก่อนการเลือกใช้เทคนิคการผ่าตัดส่องกล้อง แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังจะทำการสอบถามอาการของผู้ป่วย และค้นหาสาเหตุของโรคจากภาพ X-ray และ MRI เพื่อบอกตำแหน่งของหมอนรองกระดูกที่ปลิ้นหรือแตกจากนั้นแพทย์จะวินิจฉัยและพิจารณาวิธีการรักษาอย่างเหมาะสมกับผู้ป่วย

โรงพยาบาล S Spine เป็นผู้นำในการรักษาโรคกระดูกสันหลังด้วยเทคโนโลยี Endoscope PSLD และ PSCD กว่า 5,000 ราย ภายในระยะเวลา 7 ปี  โดยมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มีมาตรฐานการรักษาแบบเดียวกัน

ที่สำคัญยังมีทีมผู้ช่วยที่มีความชำนาญเฉพาะทางที่ทำเรื่องกระดูกสันหลังเพียงอย่างเดียว จึงมีความเข้าใจถึงวิธีการรักษาโรค ประสานงานร่วมกับแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

นอกจากนี้ โรงพยาบาลยังมีอุปกรณ์การผ่าตัดที่ทันสมัยที่สุดและเป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาสำหรับรักษาโรคกระดูกสันหลังโดยเฉพาะ ซึ่งทั้งหมดนี้ คือ S Quality ที่ทางโรงพยาบาลยึดถือมาตลอด

อ้างอิง: 

Radiopaedia.org. (n.d.). Intervertebral disc disease nomenclature. Retrieved September 17, 2024, from https://radiopaedia.org/articles/intervertebral-disc-disease-nomenclature

สอบถามข้อมูล

อาการปวดคอ
อาการปวดหลัง
MRI

รพ. เอส ไปน์

เราเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง

ปวดหลัง ปวดคอไม่หาย
ปรึกษาเราเลย!

020340808Line ID @s-spinehospital