020340808

ยิ่งสูง ยิ่งเสี่ยงเป็นโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน

ยิ่งสูง ยิ่งเสี่ยงเป็นโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน

รองเท้าส้นสูงอยู่คู่กับความสวยของผู้หญิงมาอย่างยาวนาน แต่คุณรู้หรือไม่ ในความสวยย่อมแฝงด้วยภัยร้ายที่ซ่อนอยู่ เพราะเมื่อต้องเขย่งอยู่บนส้นที่สูงเดินตลอดทั้งวัน คุณกำลังเสี่ยงเกิดโรคต่างๆ ตามมาโดยไม่รู้ตัว

การสวมใส่รองเท้าส้นสูงทุกวัน ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ หลายปี จึงเป็นเหตุที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างกระดูกของผู้สวมใส่ เพราะการยืนหรือเดินบนรองเท้าส้นสูงเปรียบเสมือนเรากำลังยืนบนพื้นที่ลาดเอียง ส่งผลให้กล้ามเนื้อหลังใช้งานหนักผิดปกติ จนเกิดการอ่อนล้าปวดเกร็งที่หลัง เนื่องจากแกนของกระดูกสันหลังและแผ่นหลังจะโน้มไปข้างหน้า เพื่อให้ร่างกายตั้งตรงและทรงตัวได้ ทำให้กระดูกบริเวณบั้นเอวรับน้ำหนักมากขึ้น เมื่อสะสมเป็นเวลานานๆ อาจนำไปสู่อาการปวดเรื้อรัง หรือเป็นหมอนรองกระดูกเคลื่อนกดทับเส้นประสาทได้ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังอย่างรุนแรง บางรายอาจเกิดอาการชา และลามขึ้นไปถึงบริเวณต้นคอได้

ภัยร้ายจากรองเท้าส้นสูง

ความสูงนอกจากจะเพิ่มอันตรายจากการลื่นล้มแล้ว ระดับความสูงที่เพิ่มขึ้น ยิ่งทำให้ร่างกายต้องแบกรับน้ำหนักตัวมากขึ้นตามไปด้วย ดังนี้

  • ส้นสูง 1 นิ้ว ทำให้ปลายเท้ารับน้ำหนักเพิ่มขึ้น 22%
  • ส้นสูง 2 นิ้ว ทำให้ปลายเท้ารับน้ำหนักเพิ่มขึ้น 57%
  • ส้นสูง 3 นิ้ว ทำให้ปลายเท้ารับน้ำหนักเพิ่มขึ้น 76%

น้ำหนักมากยิ่งเสี่ยงมาก

เมื่อโครงสร้างของแนวหมอนรองกระดูกเกิดภาวะผิดสมดุล หรือเคลื่อนจากตำแหน่งเดิม สาเหตุมาจากการสวมใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำ ส่งผลให้

–    กล้ามเนื้อหลังเกิดอาการบาดเจ็บและอักเสบได้

–    ทำให้เกิดอาการชา และอ่อนแรงจากหมอนรองกระดูกเคลื่อนไปกดทับเส้นประสาท

–    เกิดการเคลื่อนไหวร่างกายที่ผิดปกติมีปัญหาด้านการยืนหรือเดิน

ถ้าจะให้สาวๆ เลิกใส่รองเท้าส้นสูงคงเป็นเรื่องยาก แต่การลดปัจจัยเสี่ยงและดูแลความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง จึงเป็นทางออกที่จะช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แนวทางการป้องกัน

  1. เลือกรองเท้าหน้ากว้าง เพิ่มความสบายและรองรับน้ำหนักอย่างสมดุล
  2. การควบคุมน้ำหนัก น้ำหนักที่มากเกินไปจะเพิ่มแรงกดทับบริเวณกระดูกสันหลังได้
  3. ฝึกบริหารกล้ามเนื้อหลัง กล้ามเนื้อแกนกลาง (Core Muscle Exercise) เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับช่วงลำตัวและกล้ามเนื้อหลัง
  4. หากเลี่ยงไม่ได้ควรวอร์มกล้ามเนื้อขาและเท้า ด้วยการยืดขาให้ตึงก่อนสวมใส่รองเท้าส้นสูงและถอดออกเพื่อพักเท้าบ้าง หรือหมั่นนวดเท้าเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด

ข้อควรระวัง

  1. ไม่สวมรองเท้าส้นสูงหรือส้นเข็มที่มีความสูงเกินกว่า 2 นิ้ว เพื่อลดแรงกดที่จะกระทำกับแนวกระดูกสันหลัง
  2. หลีกเลี่ยงการสวมใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้เกิดแรงกดที่ข้อเท้า แรงกระแทกภายในหัวเข่า ซึ่งอาจทำให้ข้อเสื่อมตามมา

แนวทางการรักษา

  1. การใช้ยาต่างๆ ขึ้นอยู่กับชนิดของอาการปวดหลัง ตามคำแนะนำของแพทย์
  2. กายภาพบำบัดและการออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้อง
  3. การผ่าตัด

หากมีอาการปวดหลังอย่างต่อเนื่อง ชาลงบริเวณขา ปวดร้าวลงสะโพก ชาที่ปลายเท้า เดินนานยืนนานไม่ได้ ปวดเรื้อรังมากว่า 1-2 สัปดาห์ หรือเริ่มมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง กลั้นปัสสาวะ อุจจาระไม่ได้ อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเกี่ยวกับปัญหาทางระบบประสาทแพทย์จะประเมินอาการและทำการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด

ดังนั้นเมื่อมีอาการอย่ามองข้ามหรือละเลย ให้รีบทำการรักษาเสียแต่เนิ่นๆ เพราะความทนต่อความเจ็บปวดของแต่ละบุคคลบางครั้งไม่เท่ากัน หากอาการปวดมีมาก หรือสงสัยว่ามีการกดทับเส้นประสาทไขสันหลัง ให้รีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยด่วน

สอบถามข้อมูล

อาการปวดคอ
อาการปวดหลัง
MRI

รพ. เอส ไปน์

เราเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง

ปวดหลัง ปวดคอไม่หาย
ปรึกษาเราเลย!

020340808Line ID @s-spinehospital