การค้นหาสาเหตุของอาการปวดหลัง ด้วยการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI (Magnetic resonance imaging) เป็นการตรวจด้วยเทคนิคพิเศษที่ให้การสร้างภาพทางการแพทย์ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยและค้นหาสาเหตุของโรคต่างๆ
จากผลสำรวจการใช้เครื่อง MRI ทั่วโลกในปี 2018 พบว่า ความเหมาะสมในการตรวจโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังมาเป็นลำดับแรก รองลงมาคือ สมอง เนื่องจากเครื่องตรวจ MRI ให้รายละเอียดและความคมชัดสูงระดับ 3 มิติ (3D) ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยความผิดปกติในร่างกายได้อย่างแม่นยำ ที่สำคัญการตรวจด้วยเครื่องมือชนิดนี้ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใด ๆ แก่ร่างกายและไม่มีอันตรายจากรังสี
การตรวจด้วยเครื่อง MRI จะต้องใช้ความเข้มข้นของสนามแม่เหล็กแรงสูง เพื่อให้ปลอดภัยต่อการใช้งาน และด้วยข้อจำกัดทางด้านเทคนิค การออกแบบเครื่อง MRI ทำให้พื้นที่ของการสแกนแคบ ผู้ป่วยอาจรู้สึกอึดอัดและเกิดภาวะกลัวที่แคบได้ ทั้งนี้การตรวจด้วยท่านอนอาจไม่พบความผิดปกติของรอยโรคในบางกรณี
MRI แบบยืน ปลดล็อกปัญหาคนกลัวที่แคบ
ด้วยสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้นจึงมีผู้คิดค้นสนามแม่เหล็กแบบใหม่ที่สามารถเข้าไปยืนหรือนั่งตรวจได้ (Weight Bearing MRI) เพื่อให้น้ำหนักกดลงในแนวดิ่งเสมือนการยืนแล้วทำให้มีอาการปวดหลังจริง ซึ่งแพทย์สามารถเห็นภาพการตรวจที่ใกล้เคียงสภาพความเป็นจริงของผู้ป่วยได้มากขึ้น อีกทั้งผู้ที่มีภาวะกลัวที่แคบก็สามารถตรวจได้ เนื่องจากผู้พัฒนาสนามแม่เหล็กในแนวดิ่งได้ออกแบบให้สนามแม่เหล็กมีขนาดเล็กลง ทำให้สามารถหมุนทั้งแนวตั้งและแนวนอน เพื่อสร้างภาพได้ทั้งขณะนอนและยืนได้ โดยรูปร่างของเครื่องจะมีลักษณะเปิดโล่งด้านข้างทั้ง 2 ฝั่ง ซึ่งต่างจากเครื่อง MRI แบบอุโมงค์ จึงช่วยในผู้ป่วยที่รู้สึกกลัวที่แคบสามารถเข้ารับการตรวจได้แบบไร้กังวล
อาการแบบไหน…ควรตรวจด้วยเครื่อง MRI แบบยืน
- ปวดหลังในระยะแรกๆ ซึ่งยังเป็นไม่มาก
- ปวดหลังหรือคอในขณะนั่ง หรือยืนทำงาน
- ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังมาก แต่ยังสามารถยืนตรวจได้ เพราะจะทำให้เห็นความผิดปกติได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
- ผู้ป่วยที่มีภาวะกลัวที่แคบ
MRI แบบยืน มีดีอะไร?
- รูปร่างของเครื่องมีลักษณะเปิดโล่งด้านข้างทั้ง 2 ฝั่ง ซึ่งต่างจากเครื่อง MRI แบบอุโมงค์
- สามารถปรับความชันของเตียงให้อยู่ในรูปแบบท่านั่ง ยืน นอน หรือกึ่งนั่งกึ่งยืนได้
- สามารถทำท่าก้มหรือแอ่นหลัง เพื่อให้เห็นการเคลื่อนของกระดูกได้อย่างชัดเจนมากขึ้น
- ระยะเวลาในการตรวจสั้น
- มองเห็นการกดทับหรือความเสื่อม ของหมอนรองกระดูกได้ชัดเจนมากขึ้น
- สามารถสแกนกระดูกสันหลังเป็นภาพ 3D ทำให้วัดระยะต่างๆ เกี่ยวกับกระดูกสันหลังที่สำคัญๆ ไว้ได้อย่างละเอียด
- ไอ-จามแรง: ความเสี่ยงต่อการเกิดหมอนรองกระดูกแตก
- การผ่าตัดกระดูกสันหลัง เรื่องใกล้ตัว ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด
ปัจจุบันเครื่อง MRI ที่มีอยู่ทั่วโลก ประมาณ 90% เป็นแบบอุโมงค์ ซึ่งต่างจากเครื่อง MRI แบบยืนที่มีจำนวนไม่มาก แต่ที่โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังได้เล็งเห็นประโยชน์ของเครื่อง MRI แบบยืน จึงนำมาใช้ในการตรวจผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านกระดูกสันหลัง ซึ่งมีเพียงเครื่องเดียวในประเทศไทย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับผลการตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำและตรงจุด แก้ปัญหาที่ต้นเหตุและเหมาะกับผู้ป่วยที่มีภาวะกลัวที่แคบ
นอกจากการตรวจหาสาเหตุด้วยเครื่อง MRI แบบยืนแล้ว การได้รับคำวินิจฉัยที่ถูกต้องจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลังจะช่วยให้การรักษาได้ผลลัพธ์ที่ดี และหายอย่างยั่งยืน
บทความอ้างอิงโดย :
“Magnetic Resonance, a critical peer-reviewed introduction”. European Magnetic Resonance Forum. Retrieved October 2018.