Opt-out Preferences

We use third-party cookies that help us analyze how you use this website, store your preferences, and provide the content and advertisements that are relevant to you. However, you can opt out of these cookies by checking "Do Not Sell or Share My Personal Information" and clicking the "Save My Preferences" button. Once you opt out, you can opt in again at any time by unchecking "Do Not Sell or Share My Personal Information" and clicking the "Save My Preferences" button.

Do Not Sell or Share My Personal Information
+6620340808

การผ่าตัดกระดูกสันหลัง เรื่องใกล้ตัว ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

ในปัจจุบัน โรคกระดูกสันหลังเสื่อมเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี จากสถิติของกรมการแพทย์พบว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 มีผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังเสื่อมถึง 8,763 ราย โดยมีผู้เข้ารับการผ่าตัด 810 ราย ในขณะที่โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง เอส สไปน์ ได้ให้การรักษาผู้ป่วยมากกว่าแสนรายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 โดยมีการผ่าตัดมากกว่าหนึ่งหมื่นราย

โรคนี้มักเริ่มก่อตัวตั้งแต่อายุประมาณ 25 ปี และมีอาการรุนแรงขึ้นตามวัย โดยส่วนใหญ่จะพบปัญหาในช่วงอายุ 35 ถึง 50 ปี และมักเกิดที่บริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอว L4-L5 มากที่สุด

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอธิบายว่า สาเหตุหลักเกิดจากวิวัฒนาการของมนุษย์ที่เปลี่ยนจากสัตว์สี่เท้ามาเป็นสองเท้า ทำให้แนวกระดูกสันหลังต้องรับแรงกดมากขึ้นหลายเท่า โดยมีหมอนรองกระดูกทำหน้าที่รับน้ำหนักคล้ายโช้คอัพรถยนต์

ลักษณะการเกิดโรคกระดูกทับเส้นประสาทมี 2 แบบ คือ:

  1. กระดูกเสื่อมและเคลื่อนออกจากแนว (Spondylolisthesis) จนทับเส้นประสาท
  2. กระดูกเสื่อมกดทับหมอนรองกระดูก ทำให้หมอนรองกระดูกปลิ้นไปกดทับเส้นประสาท
ปัจจัยของกระดูกเสื่อมที่ทำให้กระดูกทับเส้นประสาท

จากผลสำรวจในปี พ.ศ. 2552 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า นักเรียน และคนวัยทำงานที่มีอายุ 15-59 ปี จาก 1,000 คน พบว่ามีอาการปวดหลัง 309 คน สาเหตุเกิดจากอิริยาบถที่ไม่ถูกต้อง ท่าทางที่ไม่เหมาะสมเช่น การก้มๆเงยๆยืน การยกของหนักการบิดตัว เอี้ยวตัวอยู่ ตลอดเวลา และนั่งทำงานเป็นเวลานาน พฤติกรรมเหล่านี้คือตัวเร่งทำให้กระดูกสันหลังเสื่อมก่อนเวลาอันควร

ทั้งนี้ยังมีพฤติกรรมที่ทำให้กระดูกสันหลังเสื่อม ได้แก่การเสื่อมตามอายุของกระดูกสันหลังการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงขาดการออกกำลังกายทำให้เกิดโรคอ้วนที่เป็นสาเหตุทำให้กระดูกสันหลังต้องรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดอาการปวดหลัง นอกจากนี้ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีอาการไอเรื้อรังส่งผลกระทบต่อหมอนรองกระดูกสันหลังเป็นสาเหตุทำให้กระดูกทับเส้นประสาท

การผ่าตัดกระดูกสันหลังเป็นเรื่องง่ายมากกว่าที่คิด

เมื่อผู้ป่วยพบว่าตนเองมีอาการปวดไม่ว่าจะเป็นบริเวณคอ หรือหลัง เช่นปวดหลังร้าวลงขา , ปวดคอร้าวลงแขน ,มีอาการชา หรืออ่อนแรง บางรายปวดศีรษะ คล้ายกับเป็นไมเกรน อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนของโรคกระดูกเสื่อมที่เกิดจากกระดูกทับเส้นประสาท หากจะเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดต้องผ่านการรักษาเบื้องต้นมาก่อนดังนี้

  1. กินยา ทำกายภาพบำบัด นานกว่า 6 สัปดาห์ แต่อาการยังไม่ดีขึ้นหรือไม่สามารถกลับไปดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
  2. ไม่สามารถทนความเจ็บปวดได้
  3. กล้ามเนื้อขาลีบ หรือ แขน-ขาอ่อนแรงจนไม่สามารถหยิบจับสิ่งของ ใช้งานได้ไม่เหมือนปกติ หรือเดินไม่ได้
  4. สูญเสียการควบคุมการขับถ่าย

เทคนิคการผ่าตัดกระดูกสันหลัง มีกี่วิธี ที่คุณเลือกได้
ส่องกล้องเหมือนกัน แต่ใช้กล้องไม่เหมือนกัน
การผ่าตัดหมอนรองกระดูก ส่องกล้องรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้น

ปัจจุบันการผ่าตัดกระดูกสันหลังไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว ด้วยเทคนิคการรักษาสมัยใหม่ได้พัฒนานวัตกรรมจากการผ่าตัดกระดูกสันหลัง มาเป็นการเจาะรูส่องกล้องซึ่งเทคนิคนี้จะใช้อุปกรณ์ที่มีเลนส์ของกล้องเอนโดสโคป (Endoscopic) ติดอยู่ ที่ปลายกล้อง เปรียบเสมือนดวงตาอยู่ ในตัวผู้ป่วย ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นความผิดปกติได้อย่างชัดเจน แม่นยำ เลือกตัดออกเฉพาะส่วนที่ทำให้เกิดปัญหาได้โดยไม่ต้องตัดเลาะกล้ามเนื้อส่วนที่ดีออก ทำให้แผลเล็กเจ็บน้อย ปลอดภัย ฟื้นตัวเร็ว หรือ MIS-Spine จึงเป็นเรื่องง่ายสำหรับผู้เข้ารับการรักษา เพราะเพียง 1 คืนก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะวินิจฉัยและชี้ให้เห็นรอยโรคด้วยผล X-ray และ MRI ถึงจะวางแผนการรักษาไปพร้อมผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง ตรงจุด แม่นยำ และปลอดภัย

ดังนั้นวิธีการรักษานี้จึงเป็นที่นิยมของผู้ป่วยที่ต้องการกลับไปใช้ชีวิตตาม lifestyle ที่เคยเป็น เช่น กลับไปใช้ชีวิตกับครอบครัว คนที่รัก หรือทำในสิ่งที่ชอบ สิ่งที่อยากทำ และไม่เป็นภาระให้กับคนใกล้ชิดได้เร็วยิ่งขึ้น

อ้างอิง :
1. กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถิติโรค พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข; 2554.
2. สํานักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการป่วย พ.ศ. 2555 สํานักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2556.

詢問訊息

頸部疼痛
背痛
MRI

รพ. เอส ไปน์

เราเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง

ปวดหลัง ปวดคอไม่หาย
ปรึกษาเราเลย!

020340808Line ID @s-spinehospital